การพัฒนาอาหารกุ้งด้วยสารสกัดหยาบจากเปลือกมังคุดเพื่อยับยั้งแบคทีเรีย ก่อให้เกิดโรคตายด่วนในกุ้งขาวแวนนาไมและเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กรภัทร มิ่งคำเลิศ, อธิฏฐ์ ณรัณท์ธรณ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อรวรรณ ปิยะบุญ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
กุ้งขาวแวนนาไมเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันกุ้งขาวแวนนาไมได้ประสบปัญหาโรคตายด่วน (Shrimp Early Mortality Syndrome : EMS) ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio parahaemolyticus จึงต้องหาสูตรอาหารที่ช่วยยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคตายด่วนในกุ้ง โดยสารสกัดที่สามารถยับยั้งแบคทีเรียชนิดนี้ได้คือสารที่พบในเปลือกมังคุดซึ่งจัดเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยเฉพาะสารประกอบฟีนอลิค (phenolic compounds) คือสารกลุ่มแอนโธไซยานิน (anthocyanins) และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) โครงงานนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาสูตรอาหารกุ้งที่ผสมสารสกัดหยาบจากเปลือกมังคุดในการยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคตายด่วนในกุ้งและเพิ่มสารต้าน อนุมูลอิสระ โดยจะทำการทดลองดังนี้ 1) เตรียมสารสกัดหยาบจากเปลือกมังคุดแห้ง 2) ทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี MIC และ MBC 3) ทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบเปลือกมังคุดที่ความเข้มข้น MBC 4) เตรียมอาหารเพื่อเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม 5) เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมและการทดสอบอัตราการตาย และ 6) หาสารต้านอนุมูลอิสระในเนื้อกุ้ง ดังนั้นการพัฒนาสูตรอาหารกุ้งที่ผสมสารสกัดหยาบจากเปลือกมังคุดจะสามารถยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคตายด่วนในกุ้งและเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระได้