การสังเคราะห์เรซินแลกเปลี่ยนไอออนกำจัดโลหะหนักจากตอซังข้าวโพดที่ปรับสภาพด้วยหมู่ฟังก์ชันไทออลเสริมด้วยไทเทเนียมไดออกไซด์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณภัทร ศรีสวัสดิ์, กุสุมา ช่วยศรี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ปิยดา เกิดด้วยทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันปริมาณของโลหะหนักในแหล่งน้ำธรรมชาติ และอุตสาหกรรมทั้งหลายมีระดับเพิ่มขึ้นสูงมาก ทำให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ซึ่งโลหะหนักมีความเป็นพิษสูงมาก ถ้าสะสมในปริมาณที่มากหรือสัมผัสในระยะเวลานานอาจเกิดผลกระทบแบบเรื้อรังในสิ่งมีชีวิตทั้งคนและสัตว์ส่งผลให้เกิดพิษทางสมอง ไต ตับ ผิวหนัง ภาวะซีด เลือดจาง หน่วยงานในประเทศไทยก็ได้กำหนดค่ามาตรฐาน คุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมของปริมาณของโลหะหนักชนิด ทองแดง (Cu) ไว้ไม่เกิน 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ตะกั่ว (Pb) ไว้ไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร และโคบอลต์ (Co) จะแตกต่างกันไปตามประเภทของโรงงงาน ดังนั้นเพื่อให้ปริมาณโลหะหนักในน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรมอยู่ในระดับไม่เกินค่ามาตรฐานจึงต้องมีการบำบัดน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
ทางคณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงานเรซินจากตอซังข้าวโพดกำจัดโลหะหนักในน้ำเสียโดยการแลกเปลี่ยนไอออนเป็นการสังเคราะห์เรซินแลกเปลี่ยนไอออนชนิดไอออนบวกจากตอซังข้าวโพดโดยปฏิกิริยาเอสเทอร์ริฟิเคชันระหว่างเซลลูโลสในตอซังข้าวโพดกับกรดซิตริกเพื่อใช้เป็นสารแลกเปลี่ยนไอออนในสารละลาย ในการทดลองนี้ได้ทำการศึกษาการดัดแปลงเรซินโดยการตรึงหมู่ฟังก์ชันไทออลบนเรซินและการแปรสภาพพื้นผิวเรซินด้วยไทเทเนียมไดออกไซด์ ศึกษาการดูดซับโลหะหนัก เพื่อให้ทราบวิธีสังเคราะห์เรซินให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการนำมาใช้งาน