การพัฒนาไฮโดรเจลย่อยสลายได้จากเพคตินเปลือกส้มโอเพื่อใช้เป็นวัสดุดูดซับปัสสาวะสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จิตภินันท์ โพธิ์อ่ออนจรูญ, วศินี วิมลศิลปวิญญู
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วีรวุฒิ เทียนขาว, อุษา จีนเจนกิจ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ซึ่งผู้สูงอายุมักจะมีสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ป่วยติดเตียง ดังนั้นผ้าอ้อมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการดูแลผู้สูงอายุ เเต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผ้าอ้อมที่ใช้กันในปัจจุบัน ไม่สามารถย่อยสลายได้ เนื่องจากในผ้าอ้อมจะใช้ Super Absorbent Polymer เป็นพอลิเมอร์ในการดูดซับของเหลวที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ ประกอบกับปัญหาที่เกิดจากการใช้ผ้าอ้อมเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า อีโคไล (Escherichia coli : E. coli) ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ อย่างไรก็ตามเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถยับยั้งได้โดยอนุภาคนาโนซิงก์ออกไซด์ (ZnO nanoparticles) ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงเกิดความสนใจที่จะนำเปลือกส้มโอมาสกัดเพคติน เเล้วนำไปสังเคราะห์เป็นไฮโดรเจล พร้อมเติมอนุภาคนาโนซิงก์ออกไซด์ลงในผงไฮโดรเจล เเละขึ้นรูปเป็นแผ่นดูดซับปัสสาวะ ในการศึกษามีการสังเคราะห์เพคติน นำมาตรวจสอบระดับการเกิดเอสเทอร์ริฟิเคชันให้ได้ไม่เกิน 50% ซึ่งถือว่าเป็นเพคตินเมทอกซิลต่ำ จากนั้นนำเพคตินที่ได้มาหาปริมาณที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ไฮโดรเจล โดยใช้แคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) เป็นสารเชื่อมขวาง เเละตรวจสอบคุณสมบัติต่าง ๆ ได้เเก่ ประสิทธิภาพการดูดซับของเหลว ความสามารถในการกักเก็บของเหลว ความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพ วิเคราะห์ลักษณะทางสัณฐานวิทยา และวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันของพันธะที่เกิดขึ้นในไฮโดรเจล เเล้วนำไฮโดรเจลที่สังเคราะห์ได้มาผสมนาโนซิงค์ออกไซด์ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะมีการนำมาทดสอบการยับยั้งเชื้อเเบคที่เรีย E.coli โดยวัดเส้นผ่านศูนย์กลางวงใสของการยับยั้ง (Inhibition Zone) หลังจากบ่มเชื้ออีกด้วย วัสดุดูดซับที่สร้างขึ้นมานี้ จะช่วยพัฒนาให้ผ้าอ้อมสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ทำให้ปริมาณขยะจากผ้าอ้อมมีจำนวนลดน้อยลง และลดโอกาสในการเกิดโรคติดเชื้อทางระบบปัสสาวะ