การเปรียบเทียบการยับยั้งเชื้อ Streptococcus sp. ระหว่างนาโนอิมัลชันจากสารสกัดฟ้าทะลายโจรและสารสกัดฟ้าทะลายโจรปกติ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ภาณุวัฒน์ เชื้องาม, ธุวานนท์ ยศคำ, สุภาพร นรชาติวศิน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ธีรพัฒน์ ขันใจ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากปัจจุบันมีเชื้อโรคต่างๆที่ก่อให้เกิดโรคต่อมทอนซินอักเสบ จากสถิติประชากรไทยที่มีปัญหา ต่อมทอนซินอักเสบมักเกิดในช่วงอายุประมาณ 5-15 ปีซึ่งสาเหตุเกิดจากทั้งไวรัสและแบคทีเรีย จากสถิติเชื้อ Streptococcus sp. ส่วนก่อโรคทอนซินอักเสบมากที่สุด และอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆตามมา โรคต่อมทอนซินอักเสบจากแบคทีเรียจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวะในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ ซึ่งยาปฏิชีวนะ มีผลกระทบต่อร่างกายของแต่ละบุคคล อาจเกิดความเสี่ยงต่อการดื้อยาและส่งผลเสียอื่นๆตามมาได้หาก ปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง ทางเราเกิดความสนใจนำสมุนไพรไทยที่ถูกใช้มาอย่างยาวนานและเป็นที่รู้จัก นั้นคือ ฟ้าทะลายโจร Andrographis Paniculata (Burm.f.) Nees. พืชล้มลุกในวงศ์เหงือกปลาหมอ เป็นสมุนไพรรสขมที่มีสรรพคุณทางการแพทย์แผนไทย ถูกใช้บรรเทาอาการไข้หวัด แก้ไอและเจ็บคอ ซึ่งได้มีการ ศึกษาวิจัยกันอย่างแพร่หลายและมีข้อมูลสนับสนุนว่า ฟ้าทะลายโจรมีส่วนช่วยรักษาอาการของโรคติดเชื้อ เฉียบพลันของระบบทางเดิน เช่น อาการไอ อาการเจ็บคอได้ดีมีผลช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการไอ เนื่องจากไข้หวัดและอาการอักเสบของระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้ แต่อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากการใช้ สารสกัดจากฟ้าทลายโจรแล้วการพัฒนาวิธีการนำสารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คือ การเพิ่มพื้นที่หน้าตัด โดยการทำเป็นนาโนอิมัลชั่น ที่มีขนาดของอนุภาคขนาดเล็กกว่า 100 นาโนเมตร คณะผู้จัดทำจึงได้รวบรวม ข้อมูลเพื่อที่ศึกษาการใช้สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย streptococcus sp. และการใช้นาโนอิมัลชันมีขนาดเล็กและมีพื้นที่หน้าตัดมากกว่าจากสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร ในการยับยั้งเชื้อ Streptococcus sp.