การพัฒนาระบบตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย โดยวิธี OFT

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

จิรพล พงษ์ทอง, ธนกร จันทร์เติบ, จีรนันท์ ตาบุดดา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วิสิทธิ์ ตามสีวัน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมระดับยีนที่ทำให้การสร้างโปรตีนซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเม็ดเลือดเเดงผิดปกติ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้จากพ่อหรือเเม่โดยจะส่งผลกับลูกซึ่งจะโอกาสเป็นโรคได้เเละ จะมีอาการที่รุนเเรงเเตกต่างกันไปโดยการตรวจโรคธาลัสซีเมียจะมี 3 ระดับ คือ 1.การตรวจคัดกรอง (Screening test) 2.การตรวจชนิดของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin typing) และ3.การตรวจดีเอ็นเอ (DNA analysis) โดยคณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรอง ซึ่งเป็นระดับที่ทำง่ายเเละรวดเร็ว โดยจะประยุกต์ใช้การตรวจเเบบวิธี OFT (Osmotic Fragility Test) ซึ่งอาศัยหลักการที่ว่าเม็ดเลือดของผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียจะเเตกยากกว่าเม็ดเลือดของคนปกติ ในสารละลายที่เป็น hypotonic solution ดังนั้นเมื่อเราใส่เม็ดเลือดของคนปกติในสารละลาย hypotonic solution จะเห็นสารละลายที่มีสีใสเนื่องจากเม็ดเลือดเเดงส่วนใหญ่เเตกตัว เเละเมื่อใส่เลือดของผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย จะเห็นสารละลายที่มีลักษณะขุ่น เนื่องจากเม็ดเลือดเเตกตัวน้อยกว่าปกติ โดยทั่วไปจะใช้สารละลาย hypotonic คือน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นร้อยละ 36 (0.36%) โดยจะอ่านผลความขุ่นหรือใสด้วยตาเปล่า หรือจะอ่านผลในห้องปฏิบัติการโดยใช้เครื่องมือ spectrophoto ที่มีราคาเเพงเเละต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจ ซึ่งคณะผู้จัดทำจะพัฒนาเครื่องตรวจให้มีความสะดวก รวดเร็วเเละมีราคาที่ถูก เพื่อให้เครื่องตรวจเข้าถึงในหลายๆพื้นที่ได้มากขึ้นเพื่อที่จะให้มีการเตรียมพร้อมรับมือกับโรคธาลัสซีเมีย รวมถึงช่วยให้มีการวางเเผนการสร้างครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคณะผู้จัดทำจะประยุกต์ใช้วิธีOFT กับเซนเซอร์รับค่าเเสงเเละจะเก็บข้อมูลเพื่อมาวิเคราะห์เพื่อจำเเนกคนปกติกับคนที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย