การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและจำนวนBacillus cereus เพื่อพัฒนาเป็นจุลินทรีย์ผง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ศิริวิภา สายยืด, วริยา จันทร์แสงสุก

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐภัสสร เหล่าเนตร์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันขยะที่เกิดจากการใช้พลาสติกมีมาก พลาสติกเหล่านี้ใช้เวลาหลายสิบปีในการสลายตัวทำให้มีพลาสติกสะสมในขยะและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก โดยพลาสติกที่เป็นปัญหามีหลากหลายชนิดหนึ่งในปัญหาที่พบคือชนิด HDPE (High Density polyethylene)และPP (Polypropylene) ซึ่งเป็นประเภทของพลาสติกที่นำมาทำเป็นถุงหิ้วและถุงร้อน ซึ่งมีการผลิตออกมาใช้กันหลายล้านตัน มีส่วนน้อยที่ถูกนำมารียูสกลับมาใช้ใหม่ สุดท้ายกลายเป็นขยะซึ่งย่อยสลายได้ยากจึงเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและพลาสติกแตกสลายได้ทางชีวภาพที่เป็นชนิดที่ทดสอบแล้วสามารถย่อยสลายได้จากเอนไซม์จุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่มีอยู่ในธรรมชาติ(อำนาจ เจรีรัตน์และคณะ.2541)

จุลินทรีย์ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น ซากพืช ซากสัตว์ ที่อยู่ในธรรมชาติ จากการศึกษาการย่อยสลายพลาสติกของจุลินทรีย์ การย่อยสลายถุงปลูก ถุงเพาะและพลาสติกคลุมดินที่มีพอลีแลกติกแอซิดเป็นองค์ประกอบโดยใช้จุลินทรีย์…(ม.ป.ป.) พบว่าBacillus cereusสามารถย่อยสลายพลาสติกที่เป็นถุงเพาะ ถุงปลูก และพลาสติกคลุมดิน อีกทั้งBacillus cereusสามารถพบได้ในประเทศไทย ซึ่งพบว่าเอนไซม์ของจุลินทรีย์สามารถย่อยสลายพลาสติกได้โดยการย่อยสลายพลาสติกโดยจุลินทรีย์ถือเป็นการย่อยสลายที่สมบูรณ์เนื่องจากจะไม่มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม(ธีรพัฒน์ เวชชประสิทธิ์.2556)

ในการออกแบบการประยุกต์เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายพลาสติกได้ ทำให้สามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาเพื่อนำไปใช้ต่อได้ การพัฒนาเชื้อปฏิปักษ์ให้อยู่ในรูปสูตรผงและสูตรน้ำ

(กฤติเดช อนันต์และคณะ.2559) การทำจุลินทรีย์ผงเป็นการศึกษาประสิทธิภาพของผงจุลินทรีย์ที่ดีที่สุดในการย่อยสลายพลาสติกและเป็นอีกแนวทางที่สร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายพลาสติกได้ด้วยการใช้เวลาที่น้อยลง

จากคุณสมบัติของจุลินทรีย์ ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาการปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและจำนวนจุลินทรีย์ย่อยสลายพลาสติกเพื่อพัฒนาเป็นจุลินทรีย์ผง โดยเลือกผลิตจุลินทรีย์ผงเพื่อนำไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาจุลินทรีย์และสามารถใช้ได้ง่าย ดังนั้น ผู้จัดทำจึงได้ศึกษาการพัฒนาจุลินทรีย์ผงเพื่อย่อยสลายพลาสติก เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับปัญหาขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม