โมเดลแผ่นฟิล์มจากแบบnanopillarsบนปีกแมลงปอ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สิทธินี เทพนคร, วรัญญา พงษ์ผือฮี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
โนรฮีดายะห์ กาโฮง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในปัจจุบันทำให้เราสามารถใช้กล้องจุลทรรศน์ดูโครงสร้างได้ในระดับนาโน ทำให้เราค้นพบความความลับของธรรมชาติหลายอย่าง ในปี 2017 มีการค้นพบว่าโครงสร้างระดับโมเลกุลของปีกแมลงปอมีลักษณะคล้ายกับพื้นผิวที่เต็มไปด้วยเสาเล็กๆจำนวนมาก เราเรียกมันว่า “nanopillars” ซึ่งความสูงของแต่ละเสานั้นก็มีความสูงที่ต่างกัน นอกจากนั้นเรายังค้นพบอีกว่าเมื่อมีแบคทีเรียเข้ามาเกาะที่ปีกของแมลงปอเสาเล็กๆเหล่านั้นสามารถจับแบคทีเรียได้ จากนั้นพวกมันจะเจาะเข้าไปที่เซลล์ของแบคทีเรียทำให้แบคทีเรียตายลง จากการค้นพบนี้ผู้จัดทำจึงสนใจที่จะทำโมเดลของแผ่นฟิล์มที่มีพื้นผิวคล้ายกับพื้นผิวบนปีกแมลงปอที่สามารถฆ่าแบคทีเรียได้ โดยลักษณะของแผ่นฟิล์มนั้นจะมีลักษณะเป็นสีใสทั้งแผ่น ด้านหนึ่งของแผ่นฟิล์มมีพื้นผิวแบบnanopillarsบนปีกแมลงปอและอีกด้านหนึ่งเป็นกาวที่สามารถติดตามสถานที่ต่างๆได้ โดยเฉพาะในส่วนของห้องอบและห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลที่เป็นบริเวณปลอดเชื้อโรค โดยเราจะนำแผ่นฟิล์มไปทดสอบโดยการนำ E.coli ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบและ S.aureus ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบมาส่องกล้องจุลทรรศน์และกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้คือ Scanning Electron Microscope(SEM) จากนั้นจึงสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียผ่านทางกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งทางผู้จัดทำหวังว่าในอนาคตจะสามารถนำแบบโมเดลนี้มาพัฒนาเป็นแผ่นฟิล์มที่ใช้งานจริงได้