การเปรียบเทียบปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของยางพาราสายพันธุ์ RRIM600 และ RRIT251

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กุลธาดา จริงจิตร, ชญานิศ สองทิศ, หฤทชญา จิตราวุธ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พัชรา พงศ์มานะวุฒิ, หนึ่งฤทัย ชัยมณี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อรณรงค์เรื่องคาร์บอนเครดิตแก่เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราและเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาสายพันธุ์ยางพาราให้มีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนและมีปริมาณน้ำยางพาราที่สูงขึ้น ทางกลุ่มโครงงานจะมีการเลือกแปลงของยางพาราพันธุ์600และ251 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้ความนิยมและปลูกกันเป็นจำนวนมาก อย่างละ1แปลง ทางเราจะคำนวณหาค่าปริมาณคาร์บอน3ทาง ได้แก่ 1.ใบ คือ ส่วนใบที่ร่วงลงมาในฤดูที่มีการผลัดใบเนื่องจากคาดว่าส่วนของใบน่าจะมีความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนได้มากที่สุด 2.ส่วนของลำต้น เราจะนำความสูงและเส้นรอบวงของต้นยางพารามาคำนวณ และ3. น้ำยางพารา โดยคำนวนจากค่า ความหนาแน่นอากาศ ความเร็วลมเเนวตั้งและ ความผันผวนของค่าคาร์บอน และนำมาสรุป โดยโครงงานนี้จะทำให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลปริมาณคาร์บอนในยางพาราพันธุ์600และ251 ได้ง่ายขึ้นเนื่องจากจะเป็นการเปิดตลาดคาร์บอนเครดิตและเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจเพื่อซื้อขายคาร์บอนเครดิตในอนาคต