พลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สิริพรรณ ทองบริบูรณ์, ฐิติมา อ่อนช่วย, ศุภกานต์ หรุดคง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ศรายุทธ พูลสุข, ฐิติมา ยอดมณี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสตรีพัทลุง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานพลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียน (Bioplastics from durian peel) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสกัดเซลลูโลสจากเปลือกทุเรียน เพื่อศึกษาการสังเคราะห์สารคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากเซลลูโลสที่ได้จากเปลือกทุเรียน และเพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำพลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียน โดยการนำเปลือกทุเรียนมาสกัดเซลลูโลส จากนั้นนำมาสังเคราะห์สารคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) และตรวจสอบสาร CMC ที่ได้ นำ CMC จากเปลือกทุเรียนที่ได้มาผสมกับแป้งข้าวเหนียวและน้ำ หาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำพลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียน โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลทดสอบประสิทธิภาพของพลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียน หาค่าความเครียดและร้อยละการยืดตัว ทดสอบการปนเปื้อนของสาร ทดสอบการละลายน้ำ ทดสอบการสลายในดิน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ นวัตกรรมนี้นอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะและเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรแล้ว ยังตอบสนองต่อความต้องการใช้วัสดุหรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย