การคัดเลือกเชื้อ Bacillus sp. จากดินบริเวณคลองฉวาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อยับยั้งเชื้อรา Collectotrichum capsici ที่ก่อโรคแอนแทรคโนสในพืช
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุชานันท์ อินทร์แก้ว, สลิลฑิตา เลิศไกร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
รพีวรรณ โสวรรณปรีชา, พรชนก หยดย้อย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ทำเกษตรกรรมมาช้านานเนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำเกษตรกรรม การทำการเกษตรยังถือเป็นหนึ่งในรายได้หลักของประเทศไทย ซึ่งในแต่ละปีจะมีรายได้จากการทำการเกษตรที่แตกต่างกันออกไปตามปัจจัยต่างๆ หนึ่งในนั้นคือจำนวนผลผลิต ยิ่งมีผลผลิตทางการเกษตรมากยิ่งมีรายได้มากกลับกันถ้าหากมีผลผลิตทางการเกษตรน้อยรายได้ก็จะน้อยตามไปด้วย โดยที่อัตราผลผลิตทางการเกษตรน้อยอาจเกิดจากฤดูกาล สิ่งแวดล้อม หรือโรคต่างๆที่เกิดในพืช หนึ่งในนั้นคือโรคแอนแทรคโนสซึ่งเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum spp. เป็นโรคที่สร้าง ความเสียหายให้แก่พืชเป็นอย่างมาก เชื้อราสาเหตุสำคัญคือ C. capsici และ C. gloeosporioides โดยเฉพาะเชื้อรา C. capsici ที่ทำความเสียหายกับผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวมากที่สุดและสามารถถ่ายทอดผ่านทางเมล็ดพันธุ์ได้ ซึ่งทำให้เมล็ดพันธุ์มีความงอกต่ำและทำให้ต้นกล้าเป็นโรค ปัจจุบันการควบคุมโรคโดยการใช้เชื้อ Bacillus sp. เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้ในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด เพราะสามารถพบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อมต่างๆ และสร้างendospore ที่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมในการเจริญเติบโตและยังสามารถผลิตสารต้านจุลชีพได้หลายชนิด เช่น B. subtilis ผลิต iturinA, fengycin และ surfactin และเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อสาเหตุโรคพืชและเป็นไอโซเลตมาทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา C. capsici (ปัทมวรรณ, 2556) โดยใช้เชื้อ Bacillus sp. จากการเก็บตัวอย่างจากดินบริเวณริมคลองฉวาง จ.สุราษฎร์ธานี มาทำการทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อรา C. capsici