ผลของปุ๋ยชีวภาพร่วมกับแหนแดงที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักบุ้ง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชฎาพร โกนกระโทก, ศิริรัตน์ บางประสิทธิ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ภานุพงศ์ ปราบหนองบัว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
แหนแดงเป็นเฟิร์นน้ำขนาดเล็กพบอยู่ทั่วไปบริเวณน้ำนิ่ง มีคุณสมบัติเป็นทั้งปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ และอาหารสัตว์ แหนแดงสายพันธุ์อะซอลล่า ไมโครฟิลล่า (Azolla microphylla) ที่มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่บริเวณเขตร้อนของอเมริกาตั้งแต่ด้านทิศตะวันตก และทิศเหนือของอเมริกาใต้ ถึงด้านใต้ ของอเมริกาเหนือ และ West Indies โดยกรมวิชาการเกษตรได้นำมาปรับปรุงสายพันธุ์จนได้แหนแดงที่มีขนาดใหญ่และสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่าสายพันธุ์พื้นเมืองถึง 10 เท่า ซึ่งมีนักวิจัยมีแนวคิดที่ต้องการจะต่อยอดนำแหนแดงไปใช้ประโยชน์กับพืชอื่นให้หลากหลายชนิดมากขึ้น ประกอบกับมีกระแสส่งเสริมเพิ่มพื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์ แหนแดงจึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญที่ตอบโจทย์การทำเกษตรอินทรีย์เพราะสามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การศึกษาผลของปุ๋ยหมักชีวภาพร่วมกับแหนแดงยังขาดการทดลองที่เป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพความอุดมสมบูรณ์ของผักบุ้ง จากคุณสมบัติดังกล่าวทางผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะนำแหนแดงมาศึกษาร่วมกับปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของผักบุ้ง ในการศึกษาจะมีการเตรียมดินและวางแผนการทดลอง สำหรับผักบุ้งจะมีการเปรียบเทียบการเจริญเติบโต โดยการวัดความสูง จำนวนใบ ความเขียวของใบโดยวัดด้วยเครื่องคลอโรฟิลล์มิเตอร์(SPAD)และวัดปริมาณคลอโรฟิลล์รวม(chlorophyll a และ b) น้ําหนักสดทั้งต้นและน้ําหนักแห้งทั้งต้น การศึกษาในครั้งนี้จะช่วยให้สูตรปุ๋ยที่ทำให้ผักบุ้งมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำสูตรปุ๋ยไปใช้กับพืชชนิดอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ