ฉนวนกันความร้อนจากเส้นใยต้นธูปและเยื่อลังกระดาษ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
มัณฑนา รางศรี, อนุวัฒน์ เทียบดอกไม้, รวิสรา ดีแหบ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อารีวรรณ ขัตติยะวงศ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อนชื้น จึงมีสภาพอากาศร้อนเกือบทั้งปี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมนั้นทําให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น ในประเทศไทยต้องสูญเสียพลังงานกับการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน อาทิ พัดลม เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น โดยเฉลี่ยแล้วปีละประมาณ 170,000 กิกะวัตต์/ชั่วโมง (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย,2557)
ปัจจุบันนิยมใช้ฉนวนกันความร้อนเพื่อถ่ายโอนความร้อนให้กับที่อยู่อาศัยฉนวนกันความร้อนที่นิยมใช้ คือ ฉนวนเส้นใยสังเคราะห์ แต่เนื่องจากวัสดุ ฉนวนส่วนใหญ่นําเข้าจากต่างประเทศ และวัสดุส่วนใหญ่ทําจากเส้นใยสังเคราะห์(โรสลีนา จาราแว,2559)จึงเกิดปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านสุขภาพของคนงานที่ผลิตและผู้บริโภคที่นํามาใช้งาน และในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันทางด้านการค้าสูง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าที่หน้าร้านหรือการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ก็ต้องมีสิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุผลิตภัณฑ์ จากแหล่งผลิตไปยังแหล่งผู้บริโภคและเมื่อได้รับสินค้าแล้วจะมีขยะเหลือทิ้งที่มาพร้อมกับผลิตภัณฑ์ซึ่งก็คือ ลังกระดาษ ทั้งนี้จึงมีการศึกษาค้นคว้าหาคุณสมบัติฉนวนกันความร้อนกับการป้องกันความร้อน โดยใช้วัสดุเหลือใช้ได้แก่ ลังกระดาษ และวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นได้แก่ ต้นธูปฤาษี ซึ่งต้นธูปฤาษียังจัดเป็นวัชพืชทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นตามหนองน้ำ ห้วย บึง สามารถเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วทำให้มีผลต่อแร่ธาตุในดิน เนื่องจากถูกใช้เพื่อการเจริญเติบโต ทำให้ดินเสื่อมสภาพ จึงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อมใกล้เคียง
จากปัญหาดังกล่าว ผู้ทำวิจัยจึงได้ทำการนำวัสดุเหลือใช้ ได้แก่ ลังกระดาษ และวัสดุจากธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นธูปฤๅษี ซึ่งมีเส้นใย ถึงร้อยละ 40 เส้นใยนี้มีความชื้นร้อยละ 8.9 เซลลูโลส ร้อยละ 63 เฮมิเซลลูโลส ร้อยละ 8.7 ลิกนิน ร้อยละ 9.6 ไข ร้อยละ 1.4 และเถ้า ร้อยละ 2 (Tem Samitinand. Thai Plant Names. Revised Editio, 2001) นำมาทำการศึกษาวิธีการเตรียมเส้นใยและนำมาทดสอบสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ความหนาแน่น ค่าความชื้น การดูดซึมน้ำ และค่าการกันความร้อน