การศึกษาประสิทธิภาพการคงสภาพสีและการถนอมเนื้อหมูด้วยสารสกัดจากใบเรดโอ๊คร่วมกับใบฝรั่งเพื่อนำไปพัฒนาเป็นสารกันบูดจากธรรมชาติ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธานิยา กิจวรเกียรติ, ศุภวดี พรายมี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พรพรรณ โฉมวงษ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การถนอมอาหารในปัจจจุบันนิยมใช้สารกันบูดซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย จึงมีผู้วิจัยหลายคนศึกษาเกี่ยวกับการนำสารแทนนินมาใช้ถนอมอาหาร แต่การใช้สารแทนนินถนอมอาหารนั้น ทำให้เนื้อหมูเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผู้จัดทำจึงได้นำสารสกัดจากใบเรดโอ๊คซึ่งมีสารที่ช่วยคงสภาพสีของเนื้อสัตว์มาผสมกับสารสกัดจากใบฝรั่งที่มีสารแทนนินอยู่ โดยการทดลองตอนที่ 1 เป็นการศึกษาหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างสารสกัดจากใบเรดโอ๊คต่อสารสกัดจากใบฝรั่งเพื่อนำไปใช้ถนอมอาหารและคงสภาพสีของเนื้อหมูโดยแบ่งออกเป็นอัตราส่วน 100:0, 75:25, 50:50, 25:75 และ 0:100 หลังจากนั้นนำอัตราส่วนที่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดมาใช้ในการทดลองตอนที่ 2 ตอนที่ 3 และตอนที่ 4 การทดลองตอนที่ 2 เป็นการศึกษาเวลาที่ใช้ในการแช่เนื้อหมู โดยเวลาที่ใช้ในการศึกษา คือ 5, 10, 20, 30, 40, 50, 60 นาที จากนั้นนำเวลาที่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ใช้ในการทดลองตอนที่ 3 และ ตอนที่ 4 การทดลองตอนที่ 3 คือการศึกษาระยะเวลาที่สารสกัดสามารถคงประสิทธิภาพไว้ได้มากกว่า 50% เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพของสารสกัดในวันแรก และทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง โดยผู้จัดทำจะตรวจสอบประสิทธิภาพของสารสกัดทุกๆ 3 วัน จากนั้นนำระยะเวลาที่นานที่สุดที่สามารถคงประสิทธิภาพได้ไปใช้ในการทดลองที่ 4 การทดลองที่ 4 คือการศึกษาอุณหภูมิที่สามารถรักษาประสิทธิภาพของสารสกัดไว้ได้ โดยอุณหภูมิที่ใช้ศึกษา คืออุณหภูมิห้องและอุณหภูมิในตู้แช่(ประมาณ 1-3 องศาเซลเซียส)