การดัดแปลงพื้นผิวของซีโอไลต์ เพื่อควบคุมอัตราการปล่อยปุ๋ยซัลเฟต

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วรพัทธ์ เจนจิตพรหิรัญ, พงศ์วิชญ์ เตติรานนท์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วีรวุฒิ เทียนขาว

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ข้าวไทยนับเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศไทย โดยไทยเคยเป็นประเทศที่ส่งข้าวอันดับหนึ่ง แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จากปัญหาภายในประเทศ การแข่งขันทางการค้าที่สูงขึ้น และ โควิด-19 ทำให้ปริมาณการส่งออกของข้าวไทยในปี 2564 มีอัตราที่ต่ำลงอย่างมากนอกจากนี้คุณภาพของข้าวไทยมีคุณภาพต่ำลง เนื่องจากโรคต่างๆ ที่เกิดในต้นข้าว โดยเฉพาะโรคเมาตอซังซึ่งเกิดจากการสะสมของแก๊สไข่เน่า (H2S) ที่เกิดจากสภาวะแบบไม่มีออกซิเจนทำให้แบคทีเรียที่ในกลุ่มแอนแอโรบิคแบคทีเรีย หรือ Sulfate-reducing microorganisms (SRM) เจริญได้ดีและเปลี่ยนซัลเฟตในดินเป็นก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ทำให้มีผลไปยับยั้งกระบวนการสร้างเมตาโบลิซึมของรากข้าวซึ่งเป็นพิษต่อราก แม้ว่าซัลเฟตจะเป็นส่วนที่ทำให้เกิดโรคเมาตอซังแต่ปริมาณซัลเฟตที่เหมาะสมจะทำให้จำนวนเมล็ดดีต่อรวงและการเติมเต็มเมล็ดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น และซีโอไลต์ซึ่งเป็นวัสดุที่มีรูพรุนสามารถแลกเปลี่ยนไอออน ดูดซับและคายไอออนได้ ทางคณะผู้จัดทำจึงมีความคิดที่จะใช้ซีโอไลต์มาปรับปรุงสมบัติให้เหมาะสมกับการควบคุมการปลดปล่อยซัลเฟตเพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มคุณภาพของข้าว