การเตรียมและสมบัติของแผ่นยางฟองน้ำจากวัสดุคอมโพสิทของยางธรรมชาติกับวัสดุเหลือใช้ชีวมวลเพื่อใช้ในการดูดซับน้ำ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วันวิสาข์ ฉีดเสน, สุทธิสา ขวัญเเก้ว

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กฤษฎา พัชรสิทธิ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม (โครงการ วมว.-ม.ทักษิณ)

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันในการทำผลิตภัณฑ์ยางประเภทต่างๆ จะต้องมีส่วนประกอบหลักหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารตัวเติม(filler) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญ เช่น ซิลิกา (Silica), เขม่าดำ (Carbon black), เคลย์ (Clay) เป็นต้น ทำหน้าที่ในการปรับปรุงสมบัติด้านกายภาพและทางเคมีของผลิตภัณฑ์ แต่ด้วยกระบวนการผลิตสารตัวเติมมาจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องหาวัสดุมาทดแทนที่มีความน่าสนใจ และย่อยสลายได้ง่าย ซึ่งวัสดุชีวมวลเป็นตัวเลือกหนึ่งที่มีคุณสมบัติที่สามารถทำหน้าที่เป็นสารตัวเติมได้ แหล่งวัตถุดิบมีมาก หาได้ง่าย และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงมีความสนใจใช้ผักตบชวาทำหน้าที่เป็นสารตัวเติมในยางธรรมชาติ ด้วยโครงสร้างผักตบชวาเป็นเส้นใยหรือเซลลูโลสธรรมชาติสามารถเป็นเส้นใยเสริมแรงได้ (fiber reinforced) รวมทั้งความเป็นรูพรุนสูง ทำให้ช่วยในการดูดซับน้ำ ซึ่งจุดเด่นประการนี้จึงมีแนวคิดทำผลิตภัณฑ์ประเภทยางดูดซับน้ำแทนการใช้ฟองน้ำในปัจจุบันเพื่อเพิ่มมูลค่าของยางธรรมชาติ และลดปริมาณผักตบชวาที่เป็นปัญหาต่อสภาพแวดล้อม