การศึกษาประสิทธิภาพแผ่นดูดซับคอมโพสิตจากเส้นใยเซลลูโลสเพื่อการดูดซับคราบน้ำมัน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วิมลณัฐ ลาภอุดม, พีรดา ชัยจิตติประเสริฐ, กรกนก ลิ้มประเสริฐ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เพื่อนจิต สิงห์เผ่น, ขวัญฤดี พรมส้มซ่า

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากมลพิษทางน้ำเป็นปัญหาทางน้ำมีสาเหตุสำคัญมาจากสิ่งเจือปนที่อยู่ในน้ำ ทั้งในรูปแบบของแข็งแขวนลอย และในรูปแบบสารละลาย โดยสิ่งเจือปนจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามแหล่งกำเนิดมลพิษซึ่งมีผลต่อสิ่งมีชีวิตแหล่งน้ำต่างๆและมนุษย์ ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการกับน้ำมันที่เกิดการรั่วไหลหลากหลายวิธี โดยการใช้สารอินทรีย์เป็นวัสดุในการดูดซับน้ำมันถือว่าเป็นวิธีการที่สามารถทำได้ง่ายและเป็นการนำของเหลือทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยอาศัยหลักการที่วัสดุดูดซับนั้นต้องดูดซับเฉพาะน้ำมันเท่านั้น

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมแผ่นดูดซับคอมโพสิตจากเส้นใยจากดอกธูปฤาษี เส้นใยต้นธูปฤาษี เส้นใยผกตบชวา เส้นใยกล้วย เส้นใยสัปรด และเส้นใยหญ้าแฝก เพื่อเป็นตัวดูดซับน้ำมันที่ปนเปื้อนในทะเล และภาคธุรกิจสำหรับการนำน้ำมันมาใช้ในกระบวนการผลิต และเพื่อเพิ่มมูลค่าเส้นใยกล้วยและต้นธูปฤาษีซึ่งเป็นของทิ้ง โดยขอบเขตในการทดลองทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแผ่นดูดซับคอมโพสิตได้แก่ ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ในช่วงความเข้มข้นร้อยละ 14-22 โดยน้ำหนัก อุณหภูมิที่ใช้ในการบ่มอัลค่าไลเซลลูโลสในช่วงอุณหภูมิ 30-95 องศาเซลเซียส และปริมาณของโซเดียมซัลเฟต (Na2SO4) ซึ่งใช้เป็นวัสดุเกิดรูพรุนโดยผสมกับของผสมหนืดในอัตราส่วนร้อยละ 25-75 นอกจากนี้ศึกษาลักษณะทางกายภาพและสมบัติของแผ่นดูดซับคอมโพสิตที่เตรียมได้ ได้แก่ ลักษณะรูพรุน โดยใช้ Scanning Electron Microscope (SEM) รวมทั้งค่าการดูดซึมน้ำมัน