การพัฒนากระดาษดูดซับเอทิลีนจากเส้นใยผักตบชวาและกาบกล้วยผสมผงถ่าน เพื่อยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นวพร วิมโลภาส, เจตปรียา สถาพรชัยสิทธิ์, ชฎาภรณ์ ขันติชัยขจร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชิตพงษ์ เหนือเกาะหวาย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
มะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 เป็นพืชผลทางการเกษตรที่นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย ในประเทศไทยมีเกษตรกรทำสวนมะม่วงน้ำดอกไม้เป็นจำนวนมาก แต่มะม่วงน้ำดอกไม้เป็นพืชผลทางการเกษตรที่มีอายุการเก็บรักษาสั้น จึงเกิดปัญหาเน่าเสียระหว่างการขนส่ง ซึ่งสาเหตุการเน่าเสียมาจากกระบวนการหายใจและการปลดปล่อยแก๊สเอทิลีนเป็นสำคัญ วิธีการหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้คือ การใช้สารดูดซับเอทิลีนจากด่างทับทิม แต่ด่างทับทิมถูกออกซิไดซ์ได้ง่าย เป็นพิษ และราคาค่อนข้างสูง ทางคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะใช้ผงถ่านซึ่งมีศักยภาพที่ดีในการดูดซับมาผสมลงในเยื่อกระดาษ ผงถ่านที่นำมาศึกษาได้แก่ ผงถ่านกะลามะพร้าว ผงถ่านไม้โกงกางและผงถ่านกัมมันต์ เพื่อพัฒนากระดาษดูดซับเอทิลีนจากเส้นใยผักตบชวาและกาบกล้วย โดย ศึกษาลักษณะและคุณสมบัติของผงถ่าน จากนั้นนำผักตบชวาและกาบกล้วยมาแช่น้ำไว้ 1 คืน แล้วนำมาต้มด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ และฟอกด้วยสารละลายไฮเปอร์ออกไซด์แล้วนำเยื่อกระดาษที่ได้มาทำการทดลองผสมผงถ่านต่าง ๆ เพื่อหาชนิดของผงถ่านที่เหมาะสม จากนั้นไปทดสอบการยืดอายุ เมื่อได้ผลการทดลองแล้วนำชนิดของผงถ่านที่เหมาะสมไปทำการศึกษาปริมาณของผงถ่านที่เหมาะสม จากนั้นนำไปทดสอบการยืดอายุอีกครั้ง หลังจากได้ปริมาณที่เหมาะสมที่สุด นำกระดาษที่ได้ไปทดสอบคุณภาพ นำค่าที่ได้จากการทดสอบคุณภาพของกระดาษดูดซับเอทิลีน มาเปรียบเทียบกับกระดาษห่อตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.170 – 2550 เพื่อค้นหาเพื่อค้นหาอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กระดาษดูดซับเอทิลีนต่อไป