การศึกษาประสิทธิภาพการเป็นสารหน่วงไฟ ของเคราตินที่สกัดจากเส้นผมในผ้าฝ้าย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

จิลมิกา ระเริง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

มีนารัตน์ วงศ์เสน่ห์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

อัคคีภัยเป็นสาเหตุที่สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก เหตุเพลิงไหม้ขนาดเล็กสามารถลุกลามจนเป็นเหตุเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ได้ในเวลาไม่นานพร้อมกับการเพิ่มอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ซึ่งผ้าฝ้ายเป็นที่นิยมในการผลิตสินค้าประเภท เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องนอน ของใช้ตกแต่งบ้าน และสิ่งทอต่างๆ เนื่องจากคุณสมบัติที่สวมใส่สบาย ถ่ายเทอากาศได้ดี แต่ผ้าฝ้ายสามารถติดไฟง่ายและลุกลามอย่างรวดเร็ว

การตกแต่งด้วยสารหน่วงไฟ (Flame Retardant) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดความเสี่ยงในการเกิดเพลิงไหม้ของวัสดุประเภทผ้า สารหน่วงไฟที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันมี 4 ประเภทกว้างๆได้แก่Brominated flame retardants, Chlorinated flame retardants, Phosphorous flame retardants, Inorganic flame retardantsและ Nitrogen – base flame retardants แม้ว่าผ้าที่ผ่านการตกแต่งหน่วงไฟจะมีสมบัติหน่วงไฟที่ดีขึ้น แต่สารบางชนิดมีหลักฐานเชื่อว่าเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้ เช่น Tris ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง PBB (Polybrominated Biphenyl) และ PBDE (Polybrominated Diphenyl Ether) เป็นสารหน่วงไฟในตระกูล Brominated Flame Retardants (BFR) ก็ถูกห้ามใช้เนื่องจากมีข้อกังวลเรื่องการเกิดไดออกซินและฟูรานซึ่งเป็นสาร ก่อมะเร็ง

เส้นผมเป็นสิ่งที่สามารถพบได้ทั่วไป และองค์ประกอบของเส้นผมนั้นมีปริมาณเคราติน60-80 %

จากการศึกษาพบว่าเคราตินที่สกัดจากขนไก่สามารถนำมาใช้เป็นตัวตกแต่งหน่วงไฟในผ้าฝ้าย

และมีประสิทธิภาพดีเมื่อเทียบกับผ้าที่ไม่ใช้ตัวตกแต่งหน่วงไฟ(ธนาวัฒน์ ชัยวุฒินันท์,2002)

ฟิล์มผสมระหว่างเคราตินและไคโตซานมีสมบัติเรียบขึ้นแต่มีความเสถียรเชิงความร้อนลดลง

(ประสงค์ สีหานาม,2555) และการใช้เคราตินร่วมกับammonium polyphosphate ,APP มีสมบัติการเป็นสารหน่วงไฟที่ดี(Chitsopa et al.,2016) จึงสนใจจะศึกษาสมบัติการหน่วงไฟ คุณสมบัติทางความร้อน และภาพสัณฐานวิทยาของเส้นใยผ้าฝ้ายและการยึดติดของสารหน่วงไฟของสารหน่วงไฟที่ผลิตจากเคราติน

ไคโตซาน และammonium polyphosphate ,APP ในผ้าฝ้าย เพื่อพัฒนาคุณสมบัติด้านความทนไฟของ

ผ้าฝ้าย เพิ่มทางเลือกในการเลือกใช้สารหน่วงไฟ และการประยุกต์ใช้เศษเส้นผม