แผ่นไม้อัดจากกระดาษลูกฟูก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ญาณวิชญ์ ปานเพชร, วสุณัฐ ช่วยประสาทวัฒนา, ธนวัฒน์ แสงนพคุณศรี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สุภาภรณ์ ตาปนานนท์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ส่งผลให้มีการสั่งซื้อของออนไลน์มีแนวโน้มสูงขึ้น จึงทำให้มีปริมาณขยะจากกล่องไปรษณีย์ที่ทำมาจากลูกฟูกมากขึ้น ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ทางผู้วิจัยจึงสนใจที่จะนำกระดาษลูกฟูกมาทำเป็นไม้อัดเพื่อเพิ่มมูลค่าของกระดาษลูกฟูก อีกทั้งวิเคราะห์และเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลของไม้อัด โดยทางผู้จัดทำได้สร้างไม้อัดเพื่อทดสอบค่าความหนาแน่น ค่าการพองตัวตามความหนา และค่ามอดูลัสยืดหยุ่น โดยมีผลการทดลองคือ ไม้อัดจากกระดาษลูกฟูกมีค่าความหนาแน่น 1117.85 mg/m3 ซึ่งมากกว่าไม้อัดจริงที่มีค่าความหนาแน่น 705.06 mg/m3 และมีค่าการพองตัวเฉลี่ยเป็นร้อยละ 10.8 ส่วนไม้อัดจริงมีค่าการพองตัวเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 11.9 และไม้อัดจากกระดาษลูกฟูกมีค่ามอดูลัสยืดหยุ่น 2104.43 MPa ซึ่งใกล้เคียงกับไม้อัดจริงคือ 1975.83 MPa จึงสรุปได้ว่าไม้อัดจากกระดาษลูกฟูกมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับไม้อัดจริงโดยวัดจากสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกล