การพัฒนาฐานรองปลูกสําเร็จรูปจากกาบกล้วยและไส้มันสําปะหลัง สําหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วิศรุต สร้อยคำ, พัชราภา ทิพย์กรรณ, บุญนภา สีหวัง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กิตติภัค ชูวงษ์, วีรยุทธ ทองแดง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกัลยาณวัตร

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่าการปลูกพืชไร้ดินกำลังเป็นนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นวิธีการปลูกพืชที่สามารถควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ง่าย เช่น ศัตรูพืช ดิน การให้อาหารพืช เป็นต้น ทำให้สามารถลดปริมาณสารเคมีที่ใช้กับพืชได้ ซึ่งการปลูกพืชไร้ดินนั้นสามารถทำรายได้ให้กับ เกษตรกรหรือผู้ปลูกได้โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มที่นิยมเลือกพืชที่ปลอดสารพิษในการทําอาหาร หรือกลุ่มที่รักสุขภาพ การที่เกษตรกรจะปลูกพืชไร้ดินให้ได้ผลผลิตสูงสุดนั้น เกษตรกรหรือผู้ดูแลต้องมี ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิด ยกตัวอย่างเช่น ค่าความเป็นกรด – ด่าง (pH) ค่าการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity: EC) ค่าอุณหภูมิความชื้น อากาศ และค่า แสง เป็นต้น (มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,2562)

ปัจจัยสำคัญอีกอย่างในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์คือตัวฐานผักที่จะไม่มีการใช้ดินเป็นตัวฐานในการยึดตัวรากของผัก ซึ่งในปัจจุบันมีการนำฟองน้ำมาทำเป็นตัวฐานของผัก เนื่องจากฟองน้ำมีคุณสมบัติที่เป็นฐานไว้เมล็ดอยู่และเหมือนกับดินตรงที่ฟองน้ำจะมีการอุ้มน้ำหรือดูดซับน้ำได้ดีเพื่อที่จะนำแร่ธาตุจากน้ำที่มีการผสมเคมีต่างๆมาให้กับผัก จากปัญหาดังกล่าวในการนำฟองน้ำมาเป็นฐานของผัก เนื่องจากในแง่ของสิ่งแวดล้อม ฟองน้ำที่เราใช้นั้นย่อยสลายทางชีวภาพไม่ได้และอาจเป็นแหล่งผลิตไมโครพลาสติกเช่นกัน เพราะมันทำมาจากโพลีเอสเตอร์หรือไนลอน ที่ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ และเมื่อขัดๆถูๆไปนานๆ มันจะกลายเป็นไมโคร พลาสติก ที่หลุดลงไปตามท่อน้ำ เล็ดลอดออกไปลงทะเลได้ เข้าสู่ร่างกายของสัตว์น้ำ หรือไม่ก็เราในท้ายที่สุด (Environman) ส่วนทางด้านราคาของฟองน้ำจะเป็นต้นทุนที่สูงในเรื่องของวัสดุและอุปกรณ์ที่ติดตั้งผู้ประกอบการ จำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงต้นทุน ผลตอบแทนเพื่อที่จะสามารถคืนผลกำไรรวดเร็ว (อิทธิสุนทร นันทกิจ,2544)

คุณสมบัติของไคโตซานนั้นมีสรรพคุณในการเคลือบพื้นผิวได้ จึงถูกมาใช้ในการเคลือเมล็ดพันธุ์เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดพันธ์ติดโรคหรือเน่าเสีย และยังช่วยในการเร่งการเจริณเติบโตของพืชให้รากงอกได้เร็วขึ้น หยวกกล้วย คือส่วนที่อยู่ภายใต้ต้นกล้วย หรือจะเรียกว่าเป็นแกนของต้นกล้วยจะมีสีขาวขุ่นโดยหยวกกล้วยจะมีประโยชน์ในเรื่องการที่คนส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบปรุงอาหาร ไส้มันสำปะหลังมันจะอยู่ในลำต้น

ไส้มันสำปะหลังจะมีเซลลูโลสซึ่งเป็นส่วนหลักของผนังเซลล์ที่สร้างความแข็งแรงแก่เส้นใย และมีโครงสร้างที่ทนทานต่อการย่อยสลายด้วยเอนไซม์และกรด และไม่สลายตัวเมื่ออยู่ในน้ำ

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาวิธีที่จะปลูกผักไฮโดรโปนิกส์โดยไม่ใช่ฟองน้ำแต่จะใช้ของที่เป็นของเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีคุณสมบัติคล้ายฟองน้ำแล้วนำมาประยุกต์ให้เหมือนกับฟองน้ำเพื่อประหยัดต้นทุนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการนำไส้มันสำปะหลัง และ หยวกกล้วย มาแทนตัวฟองน้ำเพื่อเป็นฐานแทนแล้วใช้สารไคโตซานช่วยป้องกันเมล็ดเน่าเสีย