ศึกษาการเพาะเลี้ยงหนอนนกด้วยระบบฟาร์มแมลงอัจฉริยะ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ภัทรธิดา อ่ำคูณ, ณัฐวดี แจ้งประพันธ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐภัสสร เหล่าเนตร์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โปรตีน เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต เพราะเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะต้องมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบอยู่ในไซโทพลาซึม โดยจะได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนจากพืช และ สัตว์ (นิธิยา, 2557) ปริมาณโปรตีนของแมลงมีค่าใกล้เคียงกับปริมาณโปรตีนในเนื้อสัตว์ และ ไข่ แมลงที่นำมาแปรรูปเนื่องจากมีโปรตีนสูง เช่น จิ้งหรีด แมงป่อง ตั๊กแตน เป็นต้น อีกทั้งหนอนนกยังมีแคลเซียมสูง และ มีโปรตีนสูงถึง ร้อยละ 19.7 ของน้ำหนักตัว (นิภา, 2562) นอกจากนี้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ยังมีการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาบริโภคแมลงเพื่อต่อสู้กับภาวะอดอยาก และ ขาดแคลนอาหารอันเนื่องมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น และปริมาณผลผลิตทางการเกษตรไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นแมลงจึงเป็นอาหารทางเลือก โดยเฉพาะอาหารโปรตีน เพื่อทดแทนอาหารที่ขาดแคลนไป (Gahukar, 2555)

หนอนนกเป็นตัวอ่อนของแมลงชื่อว่า “Meal-Beetle” (Tenebrio molitor) ซึ่งอยู่ในตระกูลTenebrionidae ไม่ได้เป็นสัตว์ที่มีอยู่ในเมืองร้อนแต่เป็นหนอนที่นําเข้าจากประเทศทางยุโรปเพื่อการเลี้ยงนกและสัตว์ปีกของกรมป่าไม้ ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อ “หนอนนก” หรือ “หนอนเลี้ยงนก” หนอนนกที่นิยมใช้เป็นอาหารสัตว์มี 2 ชนิด คือ yellow mealworm (Tenebrio molitor) และ dark mealworm (Tenebrio obscurus) โดยธรรมชาติแล้วหนอนนกชอบกินของเน่าเสีย เช่น เมล็ดพืช หรือ แป้งที่สกปรกมีเชื้อราขึ้น หนอนนกชอบอาศัยกัดกินอยู่ในที่มืดและที่อับ แต่อย่างไรก็ตามหากมีแสงสว่างก็จะทำให้มีการพัฒนาของตัวอ่อนเร็วขึ้น การเลี้ยงหนอนนกนั้นทำได้ค่อนข้างง่ายอาหารที่ใช้ ได้แก่ หัวอาหารไก่ รําข้าวสาลี รําข้าวจ้าวหรือข้าวโอ้ต นอกจากนี้ปริมาณน้ำก็ยังมีความสำคัญต่อการเลี้ยงมากเนื่องจากว่าอาหารที่ให้ส่วนใหญ่เป็นอาหารแห้ง ถ้าให้ปริมาณน้ำที่น้อยพบว่าหนอนนกจะออกไข่เพียงครั้งเดียวต่อปี แต่ถ้าตัวอ่อนได้น้ำที่เพียงพอจะให้ลูกถึง 6 ครั้งต่อปี โดยในแมลงส่วนมากมีปริมาณโปรตีนที่ใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์และไข่ (นิภา, 2562) และหนอนนกมีแคลเซียมสูงและมีโปรตีนสูงถึง ร้อยละ 19.7 ของน้ำหนักตัว

ฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm) หมายถึง การทำฟาร์มอัจฉริยะเป็นการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยนำระบบคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร ระบบเซ็นเซอร์และเทคโนโลยีชีวภาพ มาผสมผสานกันกับด้านการเกษตร ระบบจัดการฟาร์มอัจฉริยะในโรงเรือน คือ ระบบที่มีลักษณะการทำงานของระบบควบคุมในฟาร์ม และ เมื่อเข้าสู่ระบบ (login) ผ่านสมาร์ทโฟน ในระบบจะแสดงค่าอุณหภูมิ ค่าความชื้น สามารถควบคุมการสั่งการ เปิด - ปิด และสังเกตพฤติกรรมของหนอนนกในช่วงต่าง ๆ ผ่านกล้องได้แบบเรียลไทม์ (ปวันนพัสตร์ ศรีทรงเมือง, 2563)

จากสถานการณ์ในปัจจุบันหนอนนก นอกจากจะมีประโยชน์ในแง่คุณค่าทางโภชนาการแล้ว ยังถือว่าแมลงเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่มีต้นทุนต่ำด้วย (Van Huis, 2556) และจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่าการพัฒนาระบบควบคุมอัจฉริยะ เป็นระบบที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานจริง เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาช่วยส่งเสริมในด้านการเกษตร เพื่อให้สอดคล้องกับ Thailand 4.0 โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ (ธิติศักดิ์ โพธิ์ทอง และคณะ, 2562) นอกจากนี้การทำฟาร์มแมลงมีศักยภาพในการสร้างความยั่งยืน และการนำระบบอัจฉริยะมาใช้การทำฟาร์มแมลง เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนที่ยั่งยืนแห่งอนาคต ช่วยลดปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้น เราจึงคิดค้นโครงงานเพาะเลี้ยงหนอนนก และศึกษาปัจจัยที่ทำให้หนอนนกเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณให้มากขึ้น (ขจรเกียรติ์ ,2562)รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ อุณหภูมิ, ความชื้น, แสง, ปริมาณอาหาร, สูตรอาหารที่มีส่วนผสมของกวาวเครือขาว เพื่อเพิ่มความสะดวกให้การเพาะเลี้ยง ลดภาระในการดูแล และส่งเสริมอาชีพของผู้เพาะเลี้ยงหนอนนก