การศึกษาการทำพื้นรองเท้าจากเเผ่นยางพาราผสมชานอ้อยเเละซังข้าวโพด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ทักษิณ แก้ววงษา, คณาธิป สุขใจ, มนต์ธัช คล้ายเเท้

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ถนัดศรี ทัดเที่ยง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

แผ่นรองเท้าในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีและการสังเคราะห์เส้นใยให้มีความทนทานต่อการรับน้ำหนักพร้อมทั้งทำให้เท้าปลอยภัยจากการสำผัสกับพื้นรองเท้ารวมไปถึงการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันอีกทั้งในปัจจุบันวัสดุจากธรรมชาติก็เริ่มมีปริมาณน้อยลงคณะจึงทำพื้นรองเพราะการใช้วัสดุอย่างสิ้นเปลืองโดยชานอ้อยเป็นวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตน้ำตาล แต่ละปีมีปริมาณมากกว่า 20 ล้านตัน ส่วนใหญ่ถูกไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าของโรงงานน้ำตาล แต่กระนั้นยังมีชานอ้อยเหลือทิ้งอีกถึง 2.14 แสนตัน ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ (ไทยรัฐ.2561) ซังข้าวโพดจากการผลิตข้าวโพดที่ไม่เป็นประโยชน์ซึ่งมีจำนวนเท่ากับผลผลิต ทำให้เป็นปัญหาของชาวบ้านที่ต้องจำเป็นกำจัดซังข้าวโพด

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับยางพาราจะมีราคาต่ำลง เพราะว่าเศรษฐกิจโลกนั้นมีวัสดุที่ดีกว่าอย่างยางพาราอยู่หลายอย่างเช่น ยางพาราสังเคราะห์ที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมัน และปิโตรเคมี ดังนั้นราคายางธรรมชาติจึงต่ำลงในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ราคายางพาราไทยได้ราคาเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ราคา 174.44 บาทต่อกิโลกรัม ผ่านไปไม่นานราคาก็เริ่มตกต่ำลงจนกระทั่งเดือนสิงหาคม 2557 ราคายางลงถึง 53.63 บาทต่อกิโลกรัม เป็นราคาที่ต่ำสุดในรอบ 5 ปี และเป็นราคาที่ตกต่ำกว่าต้นทุนการผลิตที่ระดับ 64.90 บาทต่อกิโลกรัม (กรุงเทพธุรกิจ.2561)

คณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะทำแผ่นรองเท้าจากเเผ่นยางพาราผสมชานอ้อยเเละซังข้าวโพดเกิดขึ้น โดยมีการทำวัสดุจากน้ำยางพารา เส้นใยชานอ้อยและซังข้าวโพด ซึ่งชานอ้อยเป็นใยจากชานอ้อยโดยมีการแยกโดยใช้สารโซเดียมไฮดรอกไซด์(โซดาไฟ) ส่วนซังข้าวโพดนำมาทำเป็นชิ้นละเอียดแล้วนำมาผสมกับน้ำยางพาราจนกลายเป็นแผ่นรองเท้าจากเเผ่นยางพาราผสมชานอ้อยเเละซังข้าวโพด