ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาในการสลายตัวของกระถางกับการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูก ในกระถางจากผักตบชวาที่ใช้อัตราส่วนของแป้งมันสำปะหลังต่างกัน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อรันชญา นนทเภท, ขวัญจุฑา แสงประภาเจริญ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ธิยาภรณ์ ศรีเมือง, ซัลวาณีย์ เจ๊ะมะหมัด

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาในการสลายตัวของกระถางกับการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกในกระถางจากผักตบชวาที่ใช้อัตราส่วนของแป้งมันสำปะหลังต่างกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาในการสลายตัวของกระถางกับการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกในกระถางจากผักตบชวาที่ใช้อัตราส่วนของแป้งมันสำปะหลังต่างกัน เพื่อผลิตกระถางจากผักตบชวา เพื่อศึกษาระยะเวลาในการย่อยสลายของกระถางจากผักตบชวาที่ใช้อัตราส่วนของผักตบชวาต่อแป้งมันสำปะหลังต่างกัน และเพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของพืชในกระถางจากผักตบชวาที่ใช้อัตราส่วนของแป้งมันสำปะหลังต่างกัน วิธีการดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ขั้น คือ ขั้นการทำกระถาง ขั้นศึกษาการเจริญเติบโตของพืชในกระถางจากผักตบชวา ขั้นศึกษาการย่อยสลายของกระถาง และขั้นการวิเคราะห์ผล

จากการศึกษาการเจริญเติบโตของพืชในกระถางจากผักตบชวา พบว่า กระถางอัตราส่วนที่ 1 (อัตราส่วนผักตบชวาต่อขี้เลื่อยต่อแป้งมันสำปะหลัง 1 : 1 : 1) มีการเจริญเติบโตของต้นพืชดีที่สุด ใกล้เคียงกับกระถางควบคุม รองลงมาคือ กระถางอัตราส่วนที่ 2 (อัตราส่วนผักตบชวาต่อขี้เลื่อยต่อแป้งมันสำปะหลัง 1 : 1 : 2 ) และกระถางอัตราส่วนที่ 3 (อัตราส่วนผักตบชวาต่อขี้เลื่อยต่อแป้งมันสำปะหลัง 1: 1 : 3) ตามลำดับ และในการศึกษาการย่อยสลายของกระถาง กระถางอัตราส่วนที่ 1 (อัตราส่วนผักตบชวาต่อขี้เลื่อยต่อแป้งมันสำปะหลัง 1 : 1 : 1) มีการย่อยสลายของกระถางดีที่สุด รองลงมาคืออัตราส่วนที่ 3 (อัตราส่วนผักตบชวาต่อขี้เลื่อยต่อแป้งมันสำปะหลัง 1: 1 : 3) และอัตราส่วนที่ 2 (อัตราส่วนผักตบชวาต่อแป้งมันสำปะหลัง 1 : 1 : 2 ) ตามลำดับ