การพัฒนาแผ่นทำความเย็นแบบระเหยจากวัสดุธรรมชาติ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พันธุ์ประภัส จิตรประเสริฐ, อนันตชา ภูคงคา, ภัทรพงศ์ ไชยปุรณะ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
คธา วาทกิจ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
แผ่นทำความเย็นด้วยการระเหยน้ำนิยมนำมาใช้ในการปรับลดอุณหภูมิในโรงเรือนปลูกพืช โดยอาศัยหลักการดึงความร้อนออกอากาศที่ไหลผ่านแผงกระดาษเซลลูโลสอัดขึ้นรูปซึ่งมีน้ำไหลผ่าน เมื่ออากาศสัมผัสกับน้ำพลังงานความร้อนในอากาศจะถูกนำไปใช้ในการเปลี่ยนสถานะของน้ำให้ระเหยเป็นไอส่งผลให้อากาศมีอุณหภูมิต่ำลง ปัญหาที่พบในการใช้งานคือมักจะพบคราบหินปูนและตะไคร่น้ำเกิดขึ้นที่ผิวของแผ่นกระดาษทำให้ประสิทธิภาพทำความเย็นลดลง วัตถุประสงค์ของโครงงานนี้ เพื่อหาวัสดุจากธรรมชาติทดแทนแผ่นกระดาษเซลลูโลสอัดขึ้นรูป ที่มีคุณสมบัติทนทานต่อสารทำความสะอาดตะไคร่น้ำและหินปูน โดยกำหนดสมมติฐานและกรอบแนวคิดวัสดุที่จะเลือกใช้วัสดุ คือ ถ่าน เนื่องจากลักษณะโครงสร้างที่มีรูพรุนและการจัดเรียงตัวที่แข็งแรง ขั้นตอนการดำเนินโครงงานประกอบด้วย การศึกษาสมบัติของวัสดุกระดาษเซลลูโลสและวัสดุที่เลือกใช้ การหากรรมวิธีการขึ้นรูปที่เหมาะสม การทดสอบแผ่นวัสดุเพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำความเย็น โดยคาดว่าวัสดุที่เลือกจะมีความทนทานต่อสารทำความสะอาดตะไคร่น้ำและหินปูน ไม่ส่งผลต่ออายุการใช้งานและประสิทธิภาพของแผ่นระเหยน้ำสำหรับทำความเย็นในโรงเรือน