การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญเติบโตแบบ Synergistic ของ แบคทีเรีย Staphylococcus epidermidis โดยใช้สารสกัด จากฟักแม้วและหอมหัวใหญ่
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เสฏฐวุฒิ โคบาล, นุธิตเศรษฐ์ นาดี, วีรภัทร วัฒนานนท์สเถียร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ยศธเนศ ทัศนภักดี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาเกี่ยวข้องกับการใช้สารสกัดจากฟักแม้ว (Sechium edule (Jacq Swartz)) และหอมหัวใหญ่ (Allium cepa L) และเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับยาที่มีอยู่ตามท้องตลาด ได้แก่ Dicloxa, Clindamycin และ Cavumox เพื่อหาความใกล้เคียงของประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนของเชื้อแบคทีเรีย S. epidermidis โดยให้ความสำคัญกับการติดเชื้อที่บริเวณผิวหนัง เพราะแบคทีเรียชนิดนี้สามารถปรับตัวให้จำเพราะและเข้ากับเซลล์ของมนุษย์ (Host cell) ได้ดี ซึ่งจะนำไปสู้การพัฒนาวัสดุปิดแผลที่มีสารที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียชนิดนี้ได้ ดังนั้นการศึกษาการยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียชนิดนี้ด้วยสารสกัดจากฟักแม้วและหอมหัวใหญ่ด้วยวิธีการเติบโตแบบ synergistic จึงเป็นเรื่องที่สมควรอย่างยิ่งในการศึกษาในการพัฒนายาปฏิชีวนะและวัสดุรักษาจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ