ระบบลงจอดดาวเทียมขนาดเล็กอย่างง่าย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

คุณานนต์ นาใจคง, ชาติภัทร มาสุข, ชญานิน จงอัศญากุล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ชาคริต สมานรักษ์, นิทัศน์ ศรีพงษ์พันธ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในโลกยุคปัจจุบันที่วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอวกาศได้พัฒนาก้าวหน้าและเป็นที่สนใจของคนจำนวนมากในปัจจุบัน ซึ่งการศึกษาทางด้านนี้จำเป็นที่จะต้องนำวัตถุจากบนโลก เช่น ดาวเทียม ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ โดยอาศัยการทำงานของจรวดเป็นพาหนะพาขึ้นไป ผลที่ตามมาจากการใช้งานจรวดเป็นพาหนะในการส่งดาวเทียม คือการเก็บกู้จรวดหลังจากเสร็จสิ้นภาระกิจ ซึ่งในบางครั้งอาจเกิดเหตุการณ์ที่จรวดได้ร่วงหล่นตกลงในพื้นที่ที่ไม่พึงประสงค์ อย่างเช่นชุมชน แทนที่จะตกลงในพื้นที่อย่างมหาสมุทร จึงทำให้ระบบลงจอดที่สามารถควบคุมตำแหน่งตกของจรวดมีความสำคัญ

โดยทั่วไประบบที่ใช้ในการกลับสู่พื้นโลกของยานอวกาศคือ ร่มชูชีพ โดยเมื่อร่มชูชีพกางออกจะมีพื้นที่ในการต้านอากาศมากขึ้น โดยแรงต้านอากาศหรือ drag force จะแปรผันตรงกับพื้นที่ หรือก็คือเมื่อกางร่มจะทำให้ drag force มีค่าเพิ่มขึ้นจนเท่ากับ mg ทำให้ตกลงมาด้วยความเร็วคงที่ โดยรูปร่างของร่มชูชีพที่ใช้ทั่วไปนั้นจะเป็นทรงกลมซึ่งจะสามารถสร้างแรงต้านอากาศได้มาก แต่ยากต่อการควบคุมทิศทาง จึงทำให้ร่มชูชีพทรงของร่มชูชีพที่สามารถบังคับทิศทางได้อย่างของเครื่องร่อน หรือ paraglider เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

ในการควบคุมทิศทางเพื่อการลงจอดจะควบคุมด้วยระบบ automatic โดยทางคณะผู้จัดทำ ได้ทำการศึกษาการเคลื่อนที่ใน 3 มิติ,ความเข้าใจในร่มชูชีพ,เซ็นเซอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจะอาศัยการปรับความยาวของเชือกที่ยึดกับร่มชูชีพในการควบคุม ซึ่งในการควบคุมดังกล่าวจะพิจารณาจากตำแหน่งของจรวดเทียบกับจุดอ้างอิงที่อยู่บนพื้นโดยใช้ระบบ GPS ประสานกับเซ็นเซอร์ที่จำเป็นอย่าง Accelerometer กับ Gyroscope โดยเคลื่อนที่ลงสู่เป้าหมายที่กำหนดตามสมการการเคลื่อนที่ของระบบ โดยอาศัยการทำซ้ำเพื่อหาค่าความคลาดเคลื่อน และ เพิ่มความแม่นยำในการลงจอด