วัสดุชีวภาพจากชานอ้อยสำหรับการดูดซับประสิทธิภาพขั้นสูง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ทอฝัน สุนทรากร, ณัฐพล เดชาธีระวงค์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ปิยดา เกิดด้วยทอง, กุสุมา เชาวลิต

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย แต่น้ำกลับมีมูลค่าน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เนื่องจากน้ำหมุนเวียนเป็นวัฏจักร ไม่สูญหาย แต่จะอยู่ในลักษณะที่แตกต่างกันไป มนุษย์จึงใช้น้ำกันอย่างสะดวกสบาย และค่อนข้างฟุ่มเฟือย ด้วยความรู้สึกที่ว่าน้ำไม่มีวันหมดสิ้น จึงทำให้มนุษย์ละเลยและมองข้ามคุณค่าของน้ำ ส่งผลให้น้ำในปัจจุบันเกิดปัญหาเน่าเสียหลายแหล่ง จนทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบริเวณใกล้เคียง จากปัญหาดังกล่าวทำให้มีนักวิจัยจำนวนมากพยายามศึกษาวิธีการบำบัดน้ำเน่าเสียด้วยวิธีที่หลากหลาย แต่วิธีที่นิยมมากที่สุดคือ การใช้ตัวดูดซับจากธรรมชาติ โดยเฉพาะวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร เนื่องจากในแต่ละปีมีวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรเป็นจำนวนมาก ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจในการนำชานอ้อย ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก และสามารถหาได้ง่ายในทุกท้องถิ่น มาสังเคราะห์เป็นนาโนเซลลูโลสและเสริมด้วยซิลเวอร์ไนเทรต เพื่อขึ้นรูปเป็นฟองน้ำ สำหรับใช้ในการดูดซับโลหะหนัก คราบน้ำมัน และยับยั้งแบคทีเรีย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้น้ำเน่าเสีย