การเปรียบเทียบอัตราส่วนความน่าจะเป็นลักษณะฟีโนไทป์ของต้นบานเย็น ตามหลักทฤษฎีกฎทางพันธุกรรมของเมนเดล โดยการรดจิบเบอเรลลิน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

มุฑิตา บุตคำโชติ, พิยดา รุ่งเรือง, มาลิณี อันทะไชย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เดชาธร บงค์บุตร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ทฤษฎีกฎทางพันธุกรรม เป็นทฤษฎีการถ่ายทอดทางลักษณะใดลักษณะหนึ่งทางพันธุกรรม โดยถูกควบคุมโดยยีนซึ่งจะต้องเป็นยีนที่ได้มาจากทั้งพ่อแม่ ยีนที่ปรากฏออกมาจะมีเพียงลักษณะ เดียว เรียกว่า ลักษณะเด่น ส่วนที่ไม่ปรากฏในรุ่นนี้ แต่ไปปรากฎให้เห็นในรุ่นต่อไปจะเป็นลักษณะด้อยและถึงแม้ว่าลักษณะจะไม่ปรากฏให้เห็นในรุ่นแรกแต่ลักษณะทางพันธุกรรมไม่ได้ศูนย์หายไปแต่ไม่สามารถออกมาได้ ทางคณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษาเรื่อง การเปรียบเทียบอัตราส่วนความน่าจะเป็นลักษณะฟีโนไทป์ของต้นบานเย็น ตามหลักทฤษฎีกฎทางพันธุกรรมของเมนเดล โดยการรดจิบเบอเรลลิน เพื่อหาอัตราส่วนความน่าจะเป็นทางพันธุกรรมโดยดอกบานเย็น และเพื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนลักษณะของฟีโนไทป์ที่ได้หลังจากทดลองใส่จิบเบอเรลลิน และไม่ใส่จิบเบอเรลลิน โดยวิธีทำการทดลอง ขั้นตอนแรกคือการเตรียมจิบเบอเรลลินจากหัวไชเท้า เพื่อใช้ในการรดต้นบานเย็นที่ทำการทดลอง ถัดไปคือการปลูกต้นดอกบานเย็น โดยแยกเป็นสองส่วนคือแบบที่ใส่จิบเบอเรลลินและไม่ใส่จิบเบอเรลลิน และเมื่อต้นบานเย็นโตแล้ว จะนำเมล็ดมาปลูกต่อ เพื่อดูลักษณะทางฟีโนไทป์ในรุ่นที่ F1 ทำจนถึงรุ่น F2 สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของต้นดอกบานเย็นว่า การใส่จิบเบอเรลลินจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมหรือไม่ ทำการทดลองทั้งหมด 3 ครั้ง แล้วสรุปผล

จากการรวบรวมข้อมูล คาดว่าต้นดอกบานเย็นที่ปลูกแบบไม่ใส่จิบเบอเรลลินจะเป็นไปตามทฤษฎีกฎทางพันธุกรรมของเมนเดล และต้นที่ใส่จิบเบอเรลลลินจะมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางฟีโนไทป์เพราะจิบเบอเรลลินจะอาจช่วยเร่งให้ต้นบานเย็น และขนาดต้นบานเย็น ส่วนลักษณะทางฟีโนไทป์จะไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งอาจจะนำไปต่อยอดศึกษาในชั้นต่อไป