การเปรียบเทียบสมบัติเชิงกลของกระเบื้องซีเมนต์ปูพื้นที่มีส่วนผสมของปูนขาวจากเปลือกหอยแครงและเปลือกหอยแมลงภู่

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วรินทร์ธนาตย์ สุริวงษ์, ภัทรณิษฐ์ ภามัง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุรจิตา เศรษฐภักดี, พีระวุฒิ หาญคำเถื่อน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันในการก่อสร้างบ้านเรือน สําหรับส่วนของการทําพื้น คนไทยส่วนใหญ่มักเลือกใช้กระเบื้องในการ ทําพื้นบ้าน เพื่อความสวยงามของพื้นและกระเบื้องมีความทนทาน และแข็งแรง กระเบื้องซีเมนต์ เป็น กระเบื้องที่มีความแข็งแรงทนทาน และมีส่วนประกอบหลักเป็นปูนซีเมนต์ ซึ่งทํามาจากหินปูน และดินเหนียว แต่ในปัจจุบันหินปูนเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ได้มาจากการขุดเหมือง ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก

ทางคณะผู้จัดทำจึงได้เล็งเห็นวัสดุใกล้ตัวอย่างเปลือกหอย ซึ่งเป็นเศษอาหารที่ไม่สามารถนำมาบริโภคต่อได้ หรือที่เรียกอีกอย่างว่าขยะอาหาร (food waste) ซึ่งมักถูกกำจัดโดยการฝังกลบ จากองค์ประกอบของเปลือกหอยหลายชนิดที่จะประกอบด้วยธาตุแคลเซียมคาร์บอเนตหรือก็คือหินปูนซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่ใช้ทำปูนซีเมนต์เมื่อทำการเผาเปลือกหอยที่อุณหภูมิสูงจะได้สารประกอบแคลเซียมออกไซด์ แคลเซียมคาร์บอเนต และสารอื่นๆ

ผู้จัดทำโครงงานจึงนำเปลือกหอยที่เหลือจากการรับประทานกลายเป็นขยะอาหารทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ หอยแครง และหอยแมลงภู่ ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานในประเทศไทยอย่างมาก นำมาทำเป็นสารแคลเซียมไฮดรอกไซด์ หรือปูนขาว และนำปูนขาวที่ได้จากเปลือกหอยมาสร้างเป็นกระเบื้อง เพื่อนำไปเปรียบเทียบสมบัติเชิงกล ซึ่งได้แก่ ความสามารถในการต้านทานแรงอัด,แรงดึงและการดัดโค้ง กับกระเบื้องซีเมนต์ปูพื้นที่มีขายในท้องตลาด