การศึกษาผลของแสงสีที่มีต่อความหนาของเลนส์ เพื่อจำลองเป็นวิธีตรวจต้อกระจกอย่างง่าย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธนพร กรวิสุทธิ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ปิยะนุช เขียวอร่าม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ต้อกระจก เป็นโรคที่พบได้มากในประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากความผิดปกติของเลนส์ตาจากการที่โปรตีนในเลนส์แก้วตาสะสมเป็นกลุ่มปกคลุมพื้นที่ในบริเวณแก้วตาจนทำให้เลนส์ขุ่นมัว ส่งผลกระทบอย่างมากในการดำรงชีวิตประจำวัน ถ้าไม่รีบทำการรักษาตั้งแต่ระยะแรกอาจทำให้สูญเสียความสามารถในการมองเห็น แต่ในการตรวจหาความผิดปกตินี้ต้องใช้เวลานานและต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ ทางผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษาและค้นหาวิธีที่จะสามารถตรวจหาต้อกระจกได้เองในครัวเรือน โดยการจำลองผ่านแสงสีแดง สีเขียวและสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีที่พบได้ทั่วไปในธรรมชาติไปที่เลนส์นูน 3 แบบ คือเลนส์นูนแบบสองด้าน แบบแกมเว้าและแบบแกมระนาบ ที่เปรียบเหมือนสายตาของผู้ป่วยที่มีทั้งสายตาสั้นและสายตายาว โดยมีการใช้สารสเตียรอยด์ที่มีข้อมูลว่า หากใช้เกี่ยวข้องกับดวงตาเป็นเวลานานจะส่งผลให้เกิดความขุ่นมัวในดวงตาได้ อีกทั้งยังใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ แม็กนีเซียมคลอไรด์และโพแทสเซียมคลอไรด์ที่เป็นส่วยประกอบของเลนส์ตา เพื่อจำลองและเปรียบเทียบลักษณะของดวงตาที่มีสารในอัตราส่วนต่างกัน ผลการทดลองพบว่าแสงที่ผ่านกระดาษแก้วสีฟ้ามีความเข้มแสงสูงที่สุดและยังสามารถเห็นระยะสะท้อนได้ชัดเจนกว่าโดยเปรียบเทียบกับแสงอีกสองเมื่อการทดลองมีความเข้มแสงน้อยมากจนไม่สามารถเห็นระยะสะท้อนที่ชัดเจน อีกทั้งยังพบว่าสารสเตียรอยด์ที่เกาะเลนส์ในปริมาณต่างกันส่งผลต่อความสามารถในการสะท้อนแสงโดยปริมาณตั้งแต่ 50 กรัม ไม่สามารถมองเห็นระยะสะท้อนอย่างชัดเจนได้ ซี่งยาหยอดตาและสารผสมแคลเซียมคลอไรด์ แม็กนีเซียมคลอไรด์และโพแทสเซียมคลอไรด์ให้ผลเช่นเดียวกัน โดยนำความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแสงกับระยะสะท้อนจากเลนส์มาเทียบกับค่าจุดฟันดัลของเครื่อง direct ophthalmoscope ซึ่งจะได้ค่าความสัมพันธ์ของความเข้มแสงและจุดโฟกัสกับระยะของต้อกระจก