การศึกษาคุณสมบัติของวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ผสมเส้นใยธรรมชาติจากเสน้ใยหญ้าฝากและเส้นใยกาบมะพร้าวเพื่อใช้ในการผลิตวัสดุก่อสร้าง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วาสนา อ่วมเปี่ยม, นริสรา ธรรมศิวานนท์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จิราภา ยอดเพชร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
หญ้าแฝก(Vetiver grass) เป็นพืชที่มีอายุได้หลายปี ขึ้นเป็นลักษณะกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบ ปลายขอบใบแหลม สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว โดยเส้นใยของหญ้าแฝกนั้นมีความเหนียวและแข็งแรง ชาวบ้านจึงมักนิยมนำมาใช้ในงานหัถตกรรม กาบมะพร้าว(Coconut coir) คือส่วนของเปลือกมะพร้าวที่ปั่นเอาใยออก มีลักษณะเป็นขุยแห้งสนิท ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับเสียง ทนความชื้นและดูดซับน้ำได้ดี ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวของพืชทั้งสองชนิดเหมาะสมต่อการนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตไฟเบอร์ซีเมนต์จากเส้นใยธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นวัสดุแทนไม้ ทำให้ลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าอันเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อนได้ โครงงานนี้ได้ทำการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอัตราส่วนในการผลิต คุณสมบัติทางกายภาพ อันได้แก่ สมบัติการเป็นฉนวนความร้อน สมบัติเชิงกล สมบัติการดูดซับเสียง และมีการเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับไฟเบอร์ซีเมนต์มาตรฐาน โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 ตอน ได้แก่ 1) ศึกษาอัตราส่วนของเส้นใยหญ้าแฝก เส้นใยกาบมะพร้าวในการผลิตไฟเบอรืซีเมนต์ 2)ศึกษาคุณสมบัติการเป็นฉนวนความร้อนของซีเมนต์ผสมเส้นใยธรรมชาติ 3) ศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของซีเมนต์ผสมเส้นใยธรรมชาติ คือ ความพรุน และความสามารถในการดูดซึมน้ำ 4) ศึกษาคุณสมบัติการดูดซับเสียงของซีเมนต์ผสมเส้นใยธรรมชาติ 5) ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของไฟเบอร์ซีเมนต์ที่ขายตามท้องตลาด