ปริมาณไคโตซานที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกาแฟในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อาทิสา ศรีอ่อน, ศุภณัฐ เพชรหนุน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อาภรณ์ รับไซ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันการเพาะพันธุ์พืชสามารถทำได้อย่างหลากหลายวิธีรวมถึงมีเทคโนโนยีสำหรับการเพาะพันธุ์พืชที่มากมายเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่มีข้อดีในการเพิ่มจำนวนพืชปริมาณมากในเวลาที่เวลาที่น้อยกว่าวิธีเพาะพันธ์พืชอื่นๆ แต่มีขั้นตอน อุปสรรคหรือต้นทุนที่มากกว่า อย่างเช่น เชื้อราที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อซึ่งส่งผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของพืชและหลังจากที่นำออกมาเลี้ยงในสภาพอากาศปกติจะมีความอ่อนแอต่อโรค ถูกแมลงกัดกินจนตาย และจากการศึกษาค้นคว้าทำให้ค้นพบว่าไคโตซาน(chitosan) เป็นสารที่ผลิตมาจากไคตินที่กำจัดหมู่อะซิติลออกไปสารชนิดนี้เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างแข็งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ยังพบได้จากโครงสร้างแข็งของแมลงและผนังเซลล์ของรา ไคโตซานนำมาใช้อย่างกว้างขวางในเครื่องสำอาง การบำบัดน้ำเสียเทคโนโลยีชีวภาพ และที่สำคัญคือทางการเกษตร ในที่นี้กล่าวถึงการเพาะลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ไคโตซานมีธาตุหลักที่พืชต้องการ ควบคุมการเจริญของแบคทีเรียและยับยั้งการเจริญของเชื้อราบางชนิด
ด้วยเหตุนี้ทางคณะผู้จัดทำจึงได้คิดค้นที่จะจัดทำโครงงานปริมาณไคโตซานที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกาแฟในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อศึกษาปริมาณของไคโตซานที่มีผลต่อการเพาะเจริญเติบโดของกาแฟซึ่งถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่นานาประเทศต่างให้ความสนใจ และมีแนวโน้มของการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในตลาดโลกซึ่งคณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้เพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของไทยให้แพร่หลายพร้อมกับการสร้างฐานเศรษฐกิจกาแหไทยให้เป็นที่รู้จักและแพร่หลายอย่างมีคุณภาพทัดเทียมนานาประเทศ