น้ำหมึกนำไฟฟ้าเพิ่มประสิทธิภาพด้วยกราฟีนที่ได้จากธรรมชาติ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จุฑามาศ ม่วงบ้านยาง, ภัทรภร ดารารักษ์, พิชญสินี ศิรินันทยา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เปรนิกา มณีท่าโพธิ์, ชลาธร วิเชียรรัตน์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมรีดักซ์แกรฟีนออกไซด์ด้วยวิธีทางเคมี การใช้วิธีฮัมเมอร์ (Hummers method) โดยใช้สารเคมีเป็น analytica grade ซึ่งแกรฟีนที่สังเคราะห์ได้ สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นจากการวัดค่าความต่างศักย์ ,ค่ากระแสไฟฟ้า และค่าความต้านทานพบว่า ผงถ่านไม้ไผ่มีค่าความต่างศักย์มากที่สุด 1.267 mV และค่าความต้านทานน้อยสุด 9.173 Ω และจากการแกรฟีนของผงถ่านไม้ไผ่ และให้ปริมาณมากที่สุดเท่ากับ 0.907 กรัม ที่เวลา 60 นาที อุณหภูมิ 65 ๐C เมื่อนำน้ำมะนาว มะเขือเทศ มะม่วงสุก มะม่วงเปรี้ยว แตงกวา และสัปปะรดมา มาหาค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่มีค่ามากที่สุด คือ มะนาว 51.60 mV, ค่ากระแสไฟฟ้าที่มีค่ามากที่สุด คือ มะนาว 2.63 µA และค่า pH มะนาวจะมีความเป็นกรดมากที่สุด pH เท่ากับ 3 โดยใช้อัตราส่วน ของ น้ำมะนาว : แกรฟีน : Zinc powder ที่เหมาะสมคือ 2:2:3 มีค่าความต่างศักย์มากที่สุด 56.33 mV, ค่ากระแสไฟฟ้า 11.57 µA และค่าความต้านทานน้อยสุด 0.15 Ω เหมาะสมสำหรับการนำมาผลิตน้ำหมึก