ชุดทดสอบปริมาณโลหะหนักในน้ำจากสารสกัดพืชในท้องถิ่น
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พลพล โยนิจ, พชรพล ใหม่ยานิจ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นิลิน ปัญญาปา, จักรกฤช อินเปี้ย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
กรดแกลลิกเป็นสารอยู่ในกลุ่มสารประกอบฟีนอและจากการศึกษาสมบัติของกรดแกลลิก พบว่าสามารถทำปฏิกิริยากับโลหะหนักได้ดี โดยเกิดสารประกอบเชิงซ้อนที่มีความจำเพาะต่อเหล็กมากกว่าโลหะหนักชนิดอื่น จากการสำรวจการใช้น้ำของชาวบ้านในอำเภอเวียงป่าเป้า พบว่ามีการใช้น้ำจากบ่อน้ำผิวดิน บ่อน้ำบาดาล และประปาภูเขาค่อนข้างมากเพราะส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสูง สลับกับภูเขาจำนวนมาก โดยแหล่งน้ำเหล่านี้อาจมีโลหะหนักละลายอยู่ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพผู้บริโภค ดังนั้นผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะศึกษาวิธีการหาปริมาณเหล็กที่ละลายในน้ำโดยใช้สารสกัดจากพืชในท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบปริมาณกรดแกลลิกในพืชแต่ละชนิด 2) เพื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของเหล็กในน้ำกับสีของสารประกอบเชิงซ้อน และ 3) เพื่อประดิษฐ์ชุดทดสอบโลหะหนักในน้ำโดยใช้สารสกัดจากพืชในท้องถิ่น
จากการทดลอง เมื่อเปรียบเทียบปริมาณกรดแกลลิกที่สกัดได้ในพืชแต่ละชนิดด้วยน้ำอุ่น เป็นเวลา 10 นาที พบว่ามีกรดแกลลิกในสารสกัดมีปริมาณไม่เท่ากัน เนื่องจากสีสารประกอบเชิงซ้อนของเหล็กมีความเข้มแตกต่างกันอย่างชัดเจน และจากการทดลองยังพบว่าพืชที่มีกรดแกลลิกอยู่ในปริมาณที่สูงได้แก่ ใบฝรั่ง เมล็ดลำไย และเปลือกลำไย และจากการเปรียบเทียบความเข้มข้นของเหล็กในน้ำกับสีของสารประกอบเชิงซ้อน เมื่อนำสารสกัดจากใบฝรั่งไปทดสอบกับสารละลายเหล็กที่ความเข้มข้นต่าง ๆ พบว่าการสังเกตด้วยตาเปล่าสามารถแยกแยะความแตกต่างสีสารประกอบเชิงซ้อนของเหล็กได้ดีที่ 10 mg/L ขึ้นไป และการใช้ตาเปล่าสังเกตการเปลี่ยนแปลงสีของสารละลายที่ความเข้มข้นของเหล็กน้อย ๆ อาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ดังนั้นควรมีการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาช่วยในการวัดความแตกต่างของสีร่วมด้วย คือ เครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์