การศึกษาด้ายใยผสมจากเส้นใยงิ้วแดงและฝ้ายขาว

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

จินตนารี สุบานงาม, ชุติมา ราชคมน์, ศุภวรรณ การงาน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

นารีรัตน์ พิริยพันธุ์สกุล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การศึกษาเส้นด้ายใยผสมระหว่างงิ้วแดงและฝ้ายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเส้นด้ายจากเส้นใยงิ้วแดง เพื่อเพิ่มคุณค่าให้แก่เส้นใยงิ้วแดงและเป็นการเพิ่มทางเลือกอาชีพในแก่ชาวบ้านในท้องถิ่นได้มีงานทำโดยการนำเส้นใยงิ้วแดงมาดีดแล้วปั่นเพิ่มเกลียวให้กลายเป็นเส้นด้าย แต่เนื่องจากเส้นใยงิ้วแดงเป็นเส้นใยที่สั้นมากและไม่แข็งแรงจึงไม่สามารถที่จะนำมาทำเป็นด้ายโดยใช้งิ้วแดง 100% จึงได้ทำการผสมเส้นใยโดยนำเส้นใยฝ้ายขาวมาผสมกับเส้นใยงิ้วแดงในอัตราส่วน 50:50 60:40 และ70:30 มาปั่นเพิ่มเกลียวแล้วผลิตเป็นเส้นด้าย โดยใช้อุปกรณ์ในการทำเส้นด้ายเป็นเครื่องมือของภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่น ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ซึ่งด้ายใยผสมที่ได้มีผิวสัมผัสไม่เรียบและนุ่มต่อการสัมผัสพร้อมทดสอบสมบัติทางกายภาพของเส้นด้ายใยผสมทางด้านความคงทนต่อแรงดึง และความละเอียดของส้นด้าย

การผลิตเส้นด้ายใยผสมระหว่างเส้นใยงิ้วแดงและฝ้ายนั้นสามารถนำไปใช้ได้จริง สามารถนำไปทำเป็นผืนผ้าและผลิตสิ่งทออื่นๆ ในส่วนของหมู่บ้านได้รับประโยชน์จากการใช้งิ้วแดงให้เกิดประโยชน์สูงสุด

จึงควรมีการศึกษาอัตราส่วนผสมของเส้นใยงิ้วแดงและเส้นใยฝ้ายขาวเพิ่ม เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมที่ทำให้ได้ด้ายใยผสมที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ควรศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของการผสมเส้นใยงิ้วแดงกับเส้นใยธรรมชาติอื่นๆเพื่อที่จะนำไปสู่การผลิตเส้นด้ายใยผสมแบบใหม่ หรือควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติด้านอื่นของด้ายใยผสมเพิ่มเติมเพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลที่จะสามารถนำไปเป็นทางเลือกในการเลือกใช้เส้นด้ายให้ถูกประเภท