การดูดซับโลหะหนักในน้ำโดยใช้เถ้าเปลือกหอย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
คีตกาญจน์ จันทร์ทอง, เมธาวี ธรรมประเสริฐ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ศรัณยู ใคลคลาย, ลักษณาทิตย์ พิงคารักษ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เนื่องจากในปัจจุบันการแพร่กระจายของโลหะหนักสู่สิ่งแวดล้อมนั้นนับเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยเป็นผลมาจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ โดยเริ่มจากการที่โลหะหนักเกิดการปนเปื้อนในดิน ก่อนจะถูกชะล้างแล้วกระจายเช้าสู่แหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดิน ซึ่งเป็นผลก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในวงกว้างได้ในที่สุด (ยุวดีและคณะ, 2545) พิษจากโลหะหนัก (Heavy metal poisoning) นั้นมักจะทำให้เกิดปัญหาอย่างมากต่อสุขภาพซึ่งพบได้ทั้งชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรัง โดยทั่วไปแล้วโลหะหนักที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมที่พบค่อนข้างมาก ได้แก่ สารตะกั่ว แคดเมียม ปรอท แมงกานีส สารหนู เป็นต้น และพิษจากโลหะหนักที่พบเป็นส่วนใหญ่นั้น ได้แก่ โรคพิษตะกั่ว (Lead poisoning) โรคพิษสารหนู (Arsenic poisoning) โรคพิษแคดเมียม (Cadmium poisoning) ไข้ไอโลหะ (Metal fume fever) เป็นต้น (Annual Epidemiological Surveillance Report, 2547)
เปลือกหอย ฝาหอย หรือ กาบหอย คือ สสารที่เป็นของแข็งที่มีหน้าที่ห่อหุ้มลำตัวภายนอกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมmollusca หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า หอย ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันออกไป โดยหอยจะใช้เปลือกหอยเป็นเครื่องอำพรางอันตรายจากสัตว์อื่นและเป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารระหว่างกันและกันทั้งยังคงช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำเปลือกหอยนั้นจะประกอบด้วย
สารที่เป็นจำพวกแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือเป็นสารอื่น ๆ เช่น แคลเซียมฟอสเฟต แมกนีเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมซิลิเกต โปรตีนประเภทคอนไคโอลิน เปลือกหอยแบ่งออกเป็น 3ชั้น คือชั้นนอกสุด เรียก ชั้นผิวนอก (periostracum layer) เป็นชั้นที่บางและหลุดง่าย
ชั้นกลาง เรียก ชั้นผนึกแคลเซียม (prismatic layer) เป็นชั้นที่หนาและแข็งแรงมากที่สุด ชั้นในสุด เรียก ชั้นมุก (nacreous layer) เป็นชั้นที่เรียบมีความหนาบางแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของหอย ทำให้เปลือกมีสีขาวขุ่นและเป็นมันแวววาวแตกต่างกัน (สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2539)
ในปัจจุบันนั้น หอย กลายเป็นที่นิยมในการนำมาบริโภคอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะชุมชนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล ตั้งแต่อดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากหอยเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางอาหารไม่น้อยกว่าสัตว์น้ำจำพวกปลา ปู และกุ้งซึ่งมักจะมีราคาสูงกว่า แต่การบริโภคหอยนั้นจะไม่บริโภคเปลือกหอย ทำให้เปลือกหอยกลายเป็นขยะจากการบริโภคที่มีปริมาณมาก ซึ่งจากการศึกษาค้นคว้าพบว่าเถ้าจากเปลือกหอยนั้นสามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการดูดซับโลหะหนักบางชนิดได้ ดังนั้นงานวิจัยในครั้งนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มประโยชน์และคุณค่าให้กับเปลือกหอยพร้อมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซับของเถ้าเปลือกหอยและศึกษาการดูดซับตะกั่วด้วยเถ้าของเปลือกหอย โดยชนิดของเปลือกหอยที่ผู้จัดทำสนใจเช่น หอยแครง หอยแมลงภู่ หอยลาย หอยนางรม และหอยตลับ