การประมาณน้ำหนักเนื้อมะพร้าวจากพิกัดสูงสุดรูปสามเหลี่ยม บนก้นมะพร้าวร่วมกับทฤษฎีวงกลมแนบในสามเหลี่ยม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กชกร บางบัวงาม, ศิริขวัญ วิเศษชาติ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สนฤดี ศรีสวัสดิ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
มะพร้าวจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับชาวสวนมะพร้าวเนื่องจากคนไทยนิยมนำมะพร้าวมาประกอบอาหารโดยปกติแล้วในการคัดเลือกมะพร้าวที่มีเนื้อหนาและน้ำหนักมากจะใช้การสังเกตจากบริเวณก้นมะพร้าวซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญดังนั้นโครงงานนี้ได้ทดลองหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะภายนอกของมะพร้าวกับปริมาณเนื้อมะพร้าวโดยเก็บข้อมูลตำแหน่งภายนอกเป็นพิกัดทรงกลมผลการศึกษาพบว่าความยาวของส่วนที่กว้างที่สุดของลูกมะพร้าวกับพื้นที่รูปสามเหลี่ยมที่เกิดจากจุดสามจุดที่สูงที่สุดของก้นมะพร้าวมีความสัมพันธ์กันโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.7802 นอกจากนี้พื้นที่รูปสามเหลี่ยมที่เกิดจากจุดสามจุดที่สูงสุดของก้นมะพร้าวกับความหนาของเนื้อมะพร้าวมีความสัมพันธ์กันโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.8092 จากนั้นศึกษาต่อโดยการสร้างรูปสามเหลี่ยมใดๆ (∆ACB) ที่เกิดจากจุดที่สูงที่สุดของก้นมะพร้าวและหารัศมีของวงกลมแนบในรูปสามเหลี่ยม (r) และสร้างสามเหลี่ยมคล้าย (∆DEF) มีจุดสัมผัสขอบเนื้อด้านนอกของมะพร้าว หาอัตราส่วนด้านสมนัยได้อัตราส่วนเฉลี่ย (k) เป็น 1:0.1229 นำไปสู่การประมาณค่ารัศมีวงกลมแนบในรูปสามเหลี่ยมคล้าย (R) ซึ่งมีค่าเท่ากับรัศมีลูกมะพร้าวในส่วนที่เป็นเนื้อ จากข้อมูลดังกล่าวสามารถประมาณน้ำหนักเนื้อมะพร้าว (m) ได้จากสมการ
m=0.9754 × [(4/3 π(kr)^3)-(4/3 π(kr-1.1)^3)] เมื่อได้สมการประมาณน้ำหนักเนื้อมะพร้าวจึงนำมาประยุกต์ใช้ในการประมาณน้ำหนักเนื้อมะพร้าวโดยวิธีการสร้างไม้บรรทัดประมาณน้ำหนักเนื้อมะพร้าวและเขียนโปรแกรมโดยวิธีการ Thresholding เพื่ออำนวยความสะดวกในการประมาณน้ำหนักเนื้อมะพร้าวให้สามารถทำได้อย่างรวดเร็วขึ้น