การศึกษาประสิทธิภาพเครื่องตีเส้นใยฝ้าย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อภิรัฎ วิจารณ์, กิติศักดิ์ สว่างพนาพันธุ์, เอกพงศ์ จอมวงศ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เอนก ไชยบุตร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การทำโครงงานเรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพเครื่องตีเส้นใยฝ้าย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ช่วยย่นระยะเวลาในขั้นตอนของการตีเส้นใยฝ้ายและเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างวิธีการตีเส้นใยฝ้ายแบบดั้งเดิมและเครื่องตีเส้นใยฝ้ายที่ประดิษฐ์ขึ้นมา
โครงงานนี้ได้แนวคิดมาจากการผลิตเส้นฝ้ายเนื่องจากตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ค่อนข้างช้า เนื่องจากมีกรรมวิธีการผลิตหลายวิธี ในแต่ละวิธีใช้เวลาค่อนข้างนาน (ที่มา:พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร.13/08/2551) อีกทั้งยังต้องใช้ความชำนาญของผู้ผลิตอีกด้วย คณะผู้จัดทำจึงประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สามารถช่วยย่นระยะเวลาการทำงานของผู้ผลิตเส้นฝ้ายได้ ซึ่งทางผู้จัดทำเลือกที่จะย่นระยะเวลาวิธีการดีดฝ้าหรือตีเส้นฝ้าย เนื่องจากจะใช้เวลานานแล้วยังต้องใช้แรงมากๆในการดีดฝ้ายหรือตีฝ้ายเพื่อให้ฝ้ายฟู โดยการดำเนินงานของเราจะแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นตอนของการประดิษฐ์เครื่องตีฝ้าย เราจะใช้พลังมอเตอร์ในการหมุนใบพัดที่จะทำให้เส้นใยฝ้ายฟูขึ้นมา ขั้นตอนที่ 2 เราจะทำการทดลองโดย เราจะทำการเปรียบเทียบเครื่องดีดฝ้ายหรือเครื่องตีฝ้ายของคนโบราณก็คือ การใช้คันธนูและกำลังของคนในการทำฝ้ายให้ฟู กับ เครื่องตีฝ้ายที่เราทำขึ้นเอง โดยเราจะควบคุมปริมาณฝ้ายที่ใช้และระยะเวลาของการทำงานของคนและเครื่อง หลังจากนั้นจะวัดขนาดของปริมาณก้อนฝ้ายที่ได้จากการตีฝ้ายของเครื่องทั้งสองเพื่อดูประสิทธิภาพการทำงานงานวิจัยนี้จะเป็นแนวทางในการช่วยเหลือภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในแต่ละกรรมวิธีและเพื่อเพิ่มคุณภาพของฝ้ายในท้องถิ่น
คำสำคัญ ; การดีดฝ้ายหรือการตีฝ้าย เครื่องตีฝ้ายแบบดั่งเดิม