การพัฒนาฟิล์มชีวภาพจากแป้งสำหรับการผลิตฟิล์มคลุมดินที่ผสมสารอัลลีโลพาทีเพื่อควบคุมวัชพืชในแปลงปลูก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

จารุภัทร ใจจง, ศิขรินธาร ใจมิภักดิ์, นหทัย สุวรรณศิลป์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุทัศน์ บุญเลิศ, กนกวรรณ ณ ลำพูน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพะเยาพิทยาคม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

งานวิจัยนี้สังเคราะห์แผ่นฟิล์มไฮโดรเจลจากแป้งสองชนิด คือ แป้งมันสำปะหลัง และ แป้งข้าวเหนียว โดยใช้กลีเซอรอลและเจลาตินเป็นสารเชื่อมขวาง โดยเตรียมอัตราส่วนของไฮโดรเจลหมู่ไฮดรอกซิลของแป้งและการทำปฏิกิริยาของสารเชื่อมขวางคือ กลีเซอรอล ต่อ เจลาติน เท่ากับ 5:5 5:10 5:15 10:5 10:10 10:15 พบว่าจากอัตราส่วนข้างต้นแผ่นฟิล์มไฮโดรเจลที่มีความสามารถในการดูดซับน้ำ การระบายอากาศ คือแป้งมันในอัตราส่วนของพลาสติกไซเซอร์ 10:15 โดยไฮโดรเจลที่สังเคราะห์จากแป้งมันสำปะหลัง สูตรนี้มีคุณสมบัติของฟิล์มพลาสติกชีวภาพที่เหมาะสมได้แก่ ความหนา ความหนาแน่น อัตราการซึมผ่านของไอน้ำ อัตราการดูดซึมน้ำ และสมบัติทางด้านแรงดึง นำมาผสมกกับสารอัลลีโลพาทีจากใบสาบเสือ ใบยอ และ ใบกระถิน เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชในแปลงปลูก พบว่าพลาสติกชีวภาพไฮโดรเจลที่สังเคราะห์จากแป้งมันสำปะหลัง สูตร 10:15 ผสมกับสารอัลลีโลพาทีจากใบสาบเสือมีประสิทธิภาพมากที่สุด และสามรถยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืชในแปลงปลูกได้ดีที่สุด อีกทั้ง ไม่ส่งผลกระทบต่อพืชในแปลงปลูก