กระถางเพาะชำจากวัสดุธรรมชาติ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

เบญจรัตน์ หล้าธิ, เบญญาภรณ์ อินเทพ, ปาณิสรา ตรีสุวรรณ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สุณัฐชา โนจิตร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

พลาสติก เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติบางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิดแข็งตัวถาวรพลาสติกเป็นวัสดุที่ไม่สามารถย่อยสลายด้วยตัวเองเนื่องจากเป็นสารสังเคราะห์ และเป็นวัสดุที่ถูกทิ้งเกลื่อนกลาดในทุก ๆ วันทั่วโลก โดยเฉลี่ยถุงพลาสติกจะเป็นขยะที่มีปริมาณมากที่สุด (คณะอนุกรรมการเทคนิคคณะที่ 2 โครงการฉลากเขียว, 2539) ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ถุงเพาะชำที่เป็นพลาสติกในการเพาะต้นกล้า เมื่อถุงเพาะชำเหล่านั้นขาดหรือหมดอายุการใช้งานก็จะกลายขยะที่ย่อยสลายยากในที่สุด ทางคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดว่าจะทำกระถางเพาะชำที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติจากวัสดุที่เหลือใช้จากการเกษตร นั่นคือ ฟางข้าว ใบข้าวโพด และใบสับปะรด โดยมีตัวเชื่อมประสานเป็นกาวแป้งเปียก เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในความแข็งแรงเมื่อถูกแรงดึง และอายุการใช้งาน