การศึกษาประสิทธิภาพของรองเท้าเฝือกสำหรับผู้ที่ถอดเฝือกระยะแรก และเอ็นอักเสบระยะแรก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พีรพงศ์ พงษ์พรเจริญ, อชิระ ลิน

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วัฒนะ รัมมะเอ็ด

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

รองเท้าเฝือกเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยที่ไม่ควรงอข้อเท้า หรือ ไม่ควรได้รับแรงกระแทกที่ข้อเท้า (เริ่มใส่เฝือก) โดยการทำงานแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบนิรภัย และ ระบบรับแรงกระแทก โดยระบบนิรภัยจะมีการเคลื่อนที่ทางเดียวที่อาศัยหลักการทำงานของล้อที่มีเคี่ยว กับ สลักที่เป็นเคี่ยวที่สวนทางกับเคี่ยวของล้อ เมื่อล้อมีการเคลื่อนที่ถอยไปด้านหลัง เคี่ยวของล้อกับเคี่ยวที่สวนทางกับเคี่ยวของล้อจะทำให้ล้อหยุดเคลื่อนที่ สิ่งที่สองคือการนำระบบของเข็มขัดนิรภัยมาใช้ในการลดความเร็ว หรือทำให้เกิดความหน่วงให้ล้อ เมื่อมีความเร็วเกินที่กำหนดไว้ ซึ่งการที่ลดความเร็วแทนการหยุดล้อทำให้ผู้ใช้งานไม่ล้มเมื่อเมื่อเกิดการหยุดกระทันหัน ระบบที่สองคือระบบรับแรงกระแทก โดยใช้โช๊คแบบ Pnuematic คือใช้แรงลมในการผ่อนแรง ซึ่งจะสามารถรับแรงกระแทกได้ดีที่สุด โดยผลที่ได้รับจากระบบทั้ง 2 ของรองเท้าเฝือกจะทำให้ผู้ที่ใส่เฝือกนั้นฟื้นฟูได้เร็วขึ้น รวมถึงทำให้เคลื่อนที่ไปที่ต่าง ๆ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเคลื่อนที่ ขึ้น – ลง พื้นที่ต่างระดับ และ เคลื่อนที่ไปยังที่ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น