การศึกษาประสิทธิภาพของสาหร่ายเทาน้ำในการรักษาแผลจากด้วงก้นกระดก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จีรนันท์ พิมพันธ์, ชฎาวีร์ ทองคำ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
โนรฮีดายะห์ กาโฮง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
นักเรียนนักศึกษาที่อยู่หอพักมักประสบปัญหาแมลงหรือสัตว์ตัวเล็กๆมากมาย แต่ในช่วงฤดูฝนแมลงที่พบเป็นจำนวนมากและส่งผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยมากที่สุดก็คือ แมลงก้นกระดก มักจะขึ้นมาตามเตียงนอนของนักเรียนนักศึกษา เมื่อสัมผัสจะโดนสารที่ชื่อว่า สารพีเดอริน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนที่สามารถทำลายเนื้อเยื่อผิวหนังได้ ทำให้เกิดอาการผื่นผิวหนังอักเสบมีลักษณะเป็นผื่นแดงคล้ายรอยไหม้และมีอาการปวดแสบปวดร้อนร่วมด้วย เมื่อสัมผัสแผลเเล้วสัมผัสโดนจุดไหนร่างกายก็จะเกิดแผลพุพองอีก และอาจเกิดเป็นแผลเป็นในอนาคต (ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาผื่นผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดกส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เป็นวัยรุ่นและวัยทํางานในช่วงอายยุ 15-59 ปีและอาชีพของผู้ป่วยที่พบมากที่สุด คือ นักเรียน/นักศึกษาและแม่บ้าน) ซึ่งก็มีผู้คนอีกไม่น้อยที่ประสบกับปัญหานี้เช่นเดียวกับทางผู้จัดทำ
สาหร่ายเทาน้ำมีมอยเจอร์ไรเซอร์ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังกระตุ้นการสร้างโปรคอลลาเจน (procollagen) ที่มีผลต่อการสร้างเนื้อเยื่อผิวหนังใหม่ อีกทั้งมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยในการรักษาแผลเป็น ทางคณะผู้จัดทำจึงจึงเลือกนำสาหร่ายเทาน้ำมาศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาแผลจากแมลงก้นกระดกและนำมาพัฒนาขึ้นรูปเป็นแผ่นไฮโดรเจลปิดแผลช่วยจำกัดขอบเขตการเกิดเเผลที่เกิดขึ้น และใช้สรรพคุณของสาหร่ายในการรักษาเเผล เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการนำไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับพืชในท้องถิ่น อันจะนำไปสู่การพัฒนาเป็นวัสดุที่ใช้ในทางการแพทย์ เช่น ใช้ในการรักษาแผลจากไฟไหม้ แผลพุพอง และยังเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่ายด้วยกระบวนการทางชีวภาพ เป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนจากการดูแลเทาน้ำเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต