ระบบตรวจจับและแจ้งเตือนการรั่วของแก๊สแอมโมเนีย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ภัสนันท์ บวรไกรเลิศ, แพรวริน พังจุนันท์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

รัตนวดี โมรากุล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ โครงงาน ระบบตรวจจับและแจ้งเตือนการรั่วของแก๊สแอมโมเนีย

ปัจจุบัน มีข่าวโรงงานที่ใช้แก๊สแอมโมเนียเป็นสารหล่อเย็นระเบิดมากมาย อาทิ โรงงานน้ำแข็ง เรือประมง โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการรั่วของแก๊สแอมโมเนีย เนื่องจากแอมโมเนียเป็นก๊าซพิษ เมื่อเกิดการรั่วไหลจึงอาจทำให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้ระคายเคือง บาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ คณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิด ที่จะทำ ระบบตรวจจับและแจ้งเตือนการรั่วของแก๊สแอมโมเนีย เพื่อช่วยแจ้งเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานเปิดปิดวาล์วที่มีอยู่แล้วในอุตสาหกรรมได้อย่างทันท่วงที และลดความเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากการได้รับแก๊สแอมโมเนีย ซึ่งได้ออกแบบการทดลองเป็น 4 ขั้นตอน

ขั้นตอนแรกคือ การทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบตรวจจับและแจ้งเตือน โดยทดลองว่า ระบบสามารถตรวจจับและแจ้งเตือนได้กี่ครั้ง เมื่อนำแก๊สแอมโมเนียไปจ่อเซนเซอร์แก๊ส โดยทดลอง 10 ครั้ง แล้วจึงนำผลการทดลองที่ได้มาใช้ในการคำนวณหาเปอร์เซ็นประสิทธิภาพการทำงานของระบบตรวจจับและแจ้งเตือน

จากการทดสอบระบบตรวจจับและแจ้งเตือนการรั่วแก๊สแอมโมเนีย พบว่าเมื่อนำแก๊สแอมโมเนียมาจ่อที่เซนเซอร์แก๊ส 10 ครั้ง ระบบสามารถตรวจจับแก๊สและแจ้งเตือนได้ทั้งหมด คิดเป็นเปอร์เซนต์ 100% และสามารถแจ้งเตือนการรั่วของแก๊สผ่านทางแอปพลิเคชัน Line Notification ได้

ขั้นตอนที่สองคือ การทดสอบประสิทธิภาพการพ่นน้ำของระบบพ่นน้ำ ซึ่งเป็นระบบเสริม เพื่อให้น้ำช่วยทำปฏิกิริยากับแก๊สแอมโมเนีย ลดการสัมผัสแก๊สแอมโมเนียซึ่งเป็นพิษโดยตรง โดยทดลองว่าระบบสามารถพ่นน้ำได้กี่ครั้ง เมื่อนำแก๊สแอมโมเนียไปจ่อที่เซนเซอร์แก๊สที่หมด 10 ครั้ง แล้วจึงนำผลการทดลองที่ได้มาใช้ในการคำนวณหาเปอร์เซ็นประสิทธิภาพการทำงานของระบบพ่นน้ำ

จากการทดสอบระบบพ่นน้ำ พบว่าเมื่อนำแก๊สแอมโมเนียมาจ่อที่เซนเซอร์แก๊ส ระบบพ่นน้ำสามารถพ่นน้ำจับกับแก๊สแอมโมเนียที่รั่วได้จริง คิดเป็นเปอร์เซนต์ 100%

ขั้นตอนที่สามคือ การศึกษาระยะห่างระหว่าง * V1 และ V2 ต่อเวลาที่ใช้ในการแจ้งเตือน ตั้งแต่จับแก๊สรั่วจนถึงปั๊มน้ำ โดยนำแก๊สแอมโมเนียไปจ่อที่เซนเซอร์แก๊ส และจับเวลาตั้งแต่อะดริโนรับค่ารั่วได้(หลอดไฟสว่าง) จนถึงปั๊มน้ำเริ่มทำงาน

จากการศึกษาระยะห่างระหว่าง V1 และ V2 ต่อเวลาที่ใช้ในการแจ้งเตือน ตั้งแต่จับแก๊สรั่วจนถึงปั๊มน้ำ พบว่า ค่าเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการแจ้งเตือนมีค่าใกล้เคียงกัน(1.2 - 1.5 วินาที) ดั้งนั้น ในระยะตั้งแต่ 6 เมตรลงมา มีประสิทธิภาพในการแจ้งเตือนใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน

และขั้นตอนที่สี่ การศึกษาเวลาที่ใช้แจ้งเตือน ตั้งแต่จับแก๊สรั่วจนถึงส่งข้อความผ่านทาง Line Notification โดยนำแก๊สแอมโมเนียไปจ่อที่เซนเซอร์แก๊ส และจับเวลาตั้งแต่อะดริโนรับค่ารั่วได้(หลอดไฟสว่าง) จนถึงส่งข้อความเตือน

จากการศึกษาเวลาที่ใช้แจ้งเตือน ตั้งแต่จับแก๊สรั่วจนถึงส่งข้อความผ่านทาง Line Notification พบว่า เวลาที่ใช้ คิดเฉลี่ย 2.536 วินาที

  • V1 แทน ตัวส่งสัญญาณวิทยุข้อมูลการรั่วของแก๊ส

    V2 แทน ตัวรับสัญญาณวิทยุ