สูตรอาหารเรืองแสงสำหรับแคสตัส

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชนิตา พงษ์พานิช, ละอองดาว สลุงอยู่, ธนาพร รุ่งเรือง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วันทนี ทาทอง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนบ้านนา(นายกพิทยากร)

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชคือ การนำเอาเซลล์หรือเนื้อเยื่อหรืออวัยวะบางส่วน เช่น ยอด ลำต้น ใบราก ส่วนต่างๆของดอกและผล มาเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ ซึ่งมีทั้งอาหารกึ่งแข็งและอาหารเหลวในสภาพที่ปลอดเชื้อ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชไปประยุกต์ใช้กับในงานด้านต่างๆ เช่น ทางด้านการเกษตร พฤกษศาสตร์ ชีวเคมี เภสัชศาสตร์ โดยทางด้านการเกษตรนำไปปรับปรุงพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์พืชให้ได้พืชที่ทนต่อโรค แมลง ยากำจัดวัชพืชหรือทนต่อดินเค็ม การขยายพันธุ์พืชให้ได้ประปริมาณมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว ไม่กลายพันธุ์การเก็บรักษาพันธุ์พืช ซึ่งการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชนี้สามารถที่จะประหยัดเวลาแรงงาน งบประมาณเมื่อเปรียบเทียบกับการวิจัยเดิมๆที่ผ่านมาซึ่งในปัจจุบันแคคตัสเป็นที่นิยมมากในกลุ่มผู้ชอบพืชกระถางเล็กๆ ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งสถานที่ จัดสวน ร้านอาหารต่างๆ เพราะแคคตัสเป็นต้นไม้ที่มีขนาดเล็กใช้พื้นที่ปลูกน้อยทำให้สามารถปลูกตามพื้นที่ที่มีขนาดจำกัดได้ ปลูกง่าย ทนทานต่อสภาพอาการที่ร้อน และไม่ต้องการน้ำและปุ๋ยมาก และ ณ ตอนนี้ได้มีการปลูกแคคตัสเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ซึ่งลักษณะที่พบทั่วไปก็เช่น ทรงกลม ยาว และสีสันที่คล้ายๆกันทำให้ ทางคณะผู้จัดทำจึงได้มีการพัฒนาและต่อยอดสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยการที่ผสมสารที่ชื่อว่า ZnS(ซิงค์ซัลไฟด์) โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะนำอาหารที่ได้มีการคิดค้นสูตรขึ้นมาใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของแคคตัส และแคคตัสนำอาหารที่มีส่วนผสมของ ZnS(ซิงค์ซัลไฟด์) เมื่อพืชดึงสารไปใช้ เมื่อโดนแสงจะเกิดการหักเหจึงเกิดการเรืองแสงเกิดขึ้น ดังนั้นทางคณะผู้จัดทำจึงพัฒนาและต่อยอดโครงงานวิจัยนี้ต่อๆไป