การพัฒนาวัสดุชีวภาพห่อผลไม้เคลือบสารออกฤทธิ์จากพืชเพื่อป้องกันเเมลงวันทองในสวนผลไม้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

บุษราภรณ์ โชติกวี, พีรดา ลาภบุญเรือง, ฑิฆัมพร ซองทอง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กิตติภัค ชูวงษ์, จิราวรรณ วงษ์ชมภู

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกัลยาณวัตร

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้เป็นการพัฒนาวัสดุชีวภาพห่อผลไม้เคลือบสารออกฤทธิ์จากพืช เพื่อป้องกันแมลงวันทองในสวนผลไม้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้สารสกัดจากพืชเป็นสารล่อและสารกำจัด โดยประยุกต์ใช้สารสกัดจากดอกคูน ใบกะเพราผี และใบยี่หร่า เพื่อเป็นสารล่อ ร่วมกับสารสกัดจากดอกดาวเรือง ดอกเบญจมาศ และฝักคูน เป็นสารกำจัดแมลงวันทอง โดยมีกระบวนการทดลอง ดังนี้ ตอนที่ 1 การสกัดสาระสำคัญจากพืช ตอนที่ 2 การทดสอบฤทธิ์ของสารสำคัญที่ส่งผลต่อแมลงวันผลไม้ และตอนที่ 3 การพัฒนาแผ่นวัสดุสำหรับห่อผลไม้ จากกาบกล้วย ผลการทดลอง พบว่า 1. สารออกฤทธิ์จากพืชที่ส่งผลต่อการตอบสนองของแมลงวันทองในการเข้าหามากที่เป็นสุด คือ ใบยี่หร่า (89.32%) รองลงมาเป็นใบกะเพราผี (76%) และดอกคูน (52%) ตามลำดับ 2. สารออกฤทธิ์ที่สามารถกำจัดแมลงวันทองได้สูงสุด คือ สารออกฤทธิ์จากดอกดาวเรือง ที่ระดับความเข้มข้น 100 โดยพบอัตราการตายของแมลงวันทองคิดเป็นร้อยละการเฉลี่ย 90 ภายใน 150 นาที จากผลการทดลองข้างต้น ผู้วิจัยจึงนำสารออกฤทธิ์จากใบยี่หร่า และสารออกฤทธิ์จากดอกดาวเรือง มาใช้เป็นสารเคลือบแผ่นวัสดุห่อผลไม้ เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการล่อและกำจัดแมลงวันทองสูงสุด