แบบจำลองพื้นผิวโค้งจากการเทสเซลเลชันรูปสามเหลี่ยมใดๆด้วยวิธีการทำซ้ำเพื่อใช้พัฒนารูปร่างของพลาสเตอร์ยาให้สามารถยึดติดกับพื้นผิวของร่างกายได้อย่างแนบสนิท
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สริตา ดอกมณฑา, ชยังกูร ทองปัญญนพ, วิศรุต จงสงวนดี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ศักดิ์นรินทร์ จันทร์นาค, พิชญ์สินี คงสุคนธ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
พลาสเตอร์ยาและผ้าพันแผลเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อเราติดพลาสเตอร์ยาที่ส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลงบนร่างกายจะทำให้พลาสเตอร์ยาไม่แนบสนิทกับพื้นผิวของร่างกาย เนื่องจากพื้นผิวของร่างกายมนุษย์มีส่วนที่โค้งเว้าแบบเรขาคณิตนอกระบบยูคลิด โดยจากการที่ผู้พัฒนาได้ทำการศึกษาการสร้างแบบจำลองพื้นผิวโค้งจากวิธีการ Stereographic Projection และวิธีการเทสเซลเลชัน พบว่าวิธีการเทสเซลเลชันมีค่าความคาดเคลื่อนของพื้นที่ผิวโค้งเมื่อเทียบกับพื้นที่ผิวทรงกลมน้อยกว่าวิธีการ Stereographic Projection เมื่อพิจารณาค่าความคาดเคลื่อนที่ได้จากวิธีการเทสเซลเลชัน พบว่าค่าความคาดเคลื่อนของรูปสามเหลี่ยมในแต่ละบริเวณแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ผู้พัฒนาจึงต้องการที่จะพัฒนาวิธีการสร้างแบบจำลองจากวิธีเทสเซลเลชันเพื่อลดค่าความคาดเคลื่อนจากความสัมพันธ์ของจุดยอดของรูปสามเหลี่ยมที่มีเงื่อนไขต่างกันด้วยวิธีการทำซ้ำจากการสุ่มจุดภายในรูปสามเหลี่ยมซึ่งประกอบด้วย การสุ่มจุดอย่างอิสระและการหาจุดเซนทรอยด์ของรูปสามเหลี่ยม ซึ่งอาจมีแนวโน้มของค่าความคาดเคลื่อนที่ได้มีค่ามากในบางบริเวณ เราจึงต้องการพัฒนาแบบจำลองโดยการสุ่มจุดบนด้านของรูปสามเหลี่ยม เพื่อให้ค่าความคาดเคลื่อนลดลงและกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอมากขึ้น จากนั้นนำรูปเรขาคณิตบนระนาบที่ได้จากการคลี่รูปร่างของเเบบจำลองผิวโค้งที่ได้จากวิธีการเทสเซลเลต์ชันรูปสามเหลี่ยมที่เกิดจากจุดยอดที่มีเงื่อนไขการทำซ้ำที่มีความคาดเคลื่อนน้อยที่สุดไปออกแบบรูปร่างของพลาสเตอร์ยาที่สามารถยึดติดกับพื้นผิวบริเวณต่างๆของร่างกายได้อย่างแนบสนิทซึ่งจำแนกตามความยืดหยุ่นและการเคลื่อนไหวของแต่ละบริเวณ เเละนำเเบบจำลองของพลาสเตอร์ยาที่ได้ไปทดลองขึ้นรูปด้วยวัสดุชีวภาพเเละพอลิเมอร์สังเคราะห์ เเล้วเปรียบเทียบประสิทธิภาพของพลาสเตอร์ยาจากการแนบสนิท การรับแรงดึง และความสามารถในการดูดซับน้ำ เพื่อให้ได้พลาสเตอร์ยาที่มีรูปร่างใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้เหมาะสมที่สุด