ระบบกรองน้ำเสียครัวเรือนที่เสริมประสิทธิภาพในการดักจับไขมันด้วยดอกธูปฤาษี
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วิทวัส เจริญวชิรศักดิ์, วสิษฐ์พล พร้าโมต
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐภัสสร เหล่าเนตร์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ระบบกรองน้ำเสียจากครัวเรือนที่เสริมประสิทธิภาพในการดักจับไขมันด้วยดอกธูปฤาษีมีการปรับเปลี่ยนจากการใช้ชั้นกรองที่ทำมาจากเส้นใยของต้นธูปฤาษีและดอกของต้นธูปฤาษีที่มีอัตราส่วนระหว่างเส้นใยต้นธูปฤาษีกับดอกต้นธูปฤาษีเท่ากับ 70 : 30 ให้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพในการดักจับน้ำมันและไขมันของดอกธูปฤาษี โดยจะศึกษาในวิธีการแบบที่ 1.การดักจับน้ำมันและไขมันโดยให้น้ำเสียสังเคราะห์ไหลผ่าน และ 2.การดักจับน้ำมันและไขมันแบบแบตช์โดยการพักการไหลของน้ำเสียสังเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการดักจับของดอกธูปฤาษี ในส่วนของชั้นกรองจะทำการปรับแก้ในส่วนของวัสดุที่จะส่งผลให้ระยะเวลาในการใช้งานของระบบกรองน้อยลงเนื่องจากวัสดุที่ทำการศึกษาในโครงงานก่อนหน้านั้นจะมีวัสดุชีวภาพเป็นส่วนใหญ่ทำให้ประสิทธิภาพของระบบกรองน้ำเสียนั้นต้องมีการเปลี่ยนวัสดุกรองบ่อยมากขึ้น ทำให้คณะผู้จัดได้ทำการเสริมคุณสมบัติในการกรองน้ำเสียจากครัวเรือนเพื่อที่จะทดแทนในส่วนที่มีการปรับแก้คือ 1.การปรับเปลี่ยนชั้นกรองของแผ่นกรองเส้นใยนาโนจากธูปฤาษี (เนื่องจากในขั้นตอนการผลิตนั้นมีขั้นตอนที่ซับซ้อนซึ่งจะไม่สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ในการที่จะให้ชาวบ้านหรือชุมชนใช้งานได้อย่างสะดวกและคงทน) 2.การเปลี่ยนถ่านก่อกัมมันต์จากเปลือกมังคุดเป็น Activated carbon (เนื่องจากขั้นตอนในการทำค่อยข้างที่จะยากและไม่คุ้มค่ากับการผลิตในแต่ละรอบ) 3.เส้นใยจากกากมะพร้าว ซึ่งจะมีการเพิ่มประสิทธิภาพการกรองของเปลือกไข่จากการใช้เปลือกไข่แบบปกติให้เป็นเปลือกไข่แบบเซลามิคทรงกลมที่จะช่วยในการกรองแบคทีเรียที่เกิดขึ้นจากน้ำเสียเช่น Staphylococcus aureus ที่จะส่งผลเสียต่องจมูกของคน