การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตน้ำมันไพโรไลซิสและถ่านชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากกากกาแฟและเปลือกหุ้มเมล็ดกาแฟเหลือทิ้ง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธีทัต วัฒนศิลป์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

รัฏฏิกา ตั้งพุทธิพงศ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม)

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

กากกาแฟ และ เปลือกหุ้มเมล็ดกาแฟ เป็น เศษชีวมวลเหลือทิ้งจากกระบวนการ สกัดน้ำกาแฟ และ กระบวนการแปรรูปกาแฟ โดยมีปริมาณสูงมากขึ้นมีปริมาณ 42,324 ตัน(พ.ศ.2554) ซึ่งมีศักยภาพในการนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิส ซึ่งเป็นที่นิยมในการผลิตเชื้อเพลิงจากเศษชีวมวล โดยการศึกษานี้จะศึกษาหาความเป็นไปได้และคุณสมบัติองค์ประกอบของเชื้อเพลิงเหลว และถ่านอัดแท่ง จากกากกาแฟและเปลือกหุ้มเมล็ดกาแฟ ด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิส การศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิผลของการผลิตเชื้อเพลิงในแต่ละช่วงอุณหภูมิ เวลา ปริมาณ ที่เหมาะสมในการผลิตเชื้อเพลิง และศึกษาคุณสมบัติองค์ประกอบของเชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อนำไปทดแทนการนำเข้าน้ำมัน เพื่อช่วยลดปัญหาจากเศษชีวมวลที่เหลือทิ้งในภาคเกษตรกรรม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานภายใต้แผนแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก AEDP2015