กระถางปลูกป่าจากขุยมะพร้าวและพลาสติกชีวภาพ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กมลนัทธ์ ขวัญวงค์, พิมชน ปวนยา, ศิรภัสสร นันตาชัยวุฒิ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เอนก ไชยบุตร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การตัดไม้ทำลายป่าเป็นปัญหาใหญ่ที่เป็นภัยร้ายแรงต่อระบบนิเวศทางภาคเหนือของประเทศไทย รวมถึงการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและพื้นที่อยู่อาศัย กรมป่าไม้พยายามแก้ไขปัญหานี้โดยการขึ้นไปปลูกป่าทดแทนบนภูเขาหัวโล้น เนื่องจากการปลูกต้นไม้บนภูเขาหัวโล้นมีข้อจำกัดทั้งด้านสารอาหารที่พืชต้องได้รับเพื่อการเจริญเติบโตในช่วงฤดูร้อนและการคมนาคมที่ยากลำบากในช่วงฤดูฝน จึงต้องการแก้ปัญหานี้โดยการสร้างอุปกรณ์ที่สามารถบรรจุต้นกล้า ให้น้ำแก่ต้นกล้าและสามารถย่อยสลายได้ ซึ่งพบวัสดุที่มีคุณสมบัติที่สามารถสร้างอุปกรณ์นี้ได้และวัสดุนี้สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยได้ออกแบบอุปกรณ์ออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วยส่วนบนสำหรับใส่ต้นกล้า และส่วนล่างสำหรับบรรจุน้ำ ซึ่งมีเส้นฝ้ายเป็นตัวลำเลียงน้ำขึ้นไปหล่อเลี้ยงต้นกล้าในส่วนบน โดยส่วนบนสร้างจากวัสดุผสมขุยพร้าวและส่วนล่างสร้างจากพลาสติกชีวภาพซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น การทดลองแบ่งออกเป็นการหาอัตราส่วนที่เหมาะในการสร้างกระถางจากวัสดุผสมขุยมะพร้าวและพลาสติกชีวภาพ ซึ่งใช้ 3 อัตราส่วนในการทดลอง ในส่วนของอัตราส่วนในการสร้างกระถางจากวัสดุผสมขุยมะพร้าว เป็นอัตราส่วนของขุยมะพร้าว : แกลบป่น : ปุ๋ยหมัก : แป้งเปียก : ดินเหนียว โดยมีอัตราส่วน 2:1:0:5:0 , 2:1:2:5:0 และ 2:1:2:5:1 เป็นอัตราส่วนที่ 1,2 และ 3 ตามลำดับ ในส่วนของอัตราส่วนในการสร้างกระถางจากพลาสติกชีวภาพ เป็นอัตราส่วนของแป้งมันสำปะหลัง : น้ำ : กลีเซอรอล โดยมีอัตราส่วน 8.5g:60ml:5ml , 9.5g:60ml:5ml และ 10.5g:60ml:5ml และเลือกใช้อัตราส่วนที่ดีที่สุดเพื่อสร้างกระถาง การหาจำนวนเส้นเชือกที่เพียงพอต่อการดูดซึมน้ำให้ดินและการใช้น้ำของพืชใน 1 เดือน ทดลองโดยการหย่อนเส้นเชือก 1 ด้านในน้ำและวัดปริมาณน้ำที่ลดลงในแต่ละวันจนครบ 1 เดือน ผลการทดลองพบว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างกระถางจากวัสดุผสมขุยมะพร้าว(ส่วนปลูกต้นกล้า) คือ อัตราส่วน 2:1:0:5:0 เนื่องจากกระถางสามารถคงรูปได้ แข็งแรง มีน้ำเบาและสามารถย่อยสลายได้ อัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างกระถางจากวัสดุพลาสติกชีวภาพ(ส่วนแทงฺค์) คือ อัตราส่วน 9.5g:60ml:5ml จำนวนเส้นเชือกที่เพียงพอต่อการดูดซึมน้ำให้ดิน คือ ใช้เส้นเชือก 3 เส้น หนึ่งเส้นมีความหนา 3-4 มิลลิเมตร และปริมาณที่พืชใช้ใน 1 เดือนประมาณ 300 ลูกบาศก์เซนติเมตร