แผ่นอนุบาลกล้ากล้วยไม้จากไบโอเซลลูโลสที่ได้จากเปลือกสับปะรด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ประภาศิริ พรหมหนู, สายฝน มะโนหาญ, นพนันท์ กันทะจักร์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เกียรติศักดิ์ อินราษฎร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การปลูกกล้ากล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium sp.) คืนสู่ป่ามีข้อจำกัดเนื่องจากการปลูกด้วยวิธีการดั้งเดิม (การใช้กาบมะพร้าวผูกติดกับต้นไม้) มีอัตราการรอดตายต่ำ ประกอบกับในชุมชนมีเปลือกสับปะรดภูแลเป็นขยะทางการเกษตรที่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผ่นอนุบาลกล้ากล้วยไม้จากไบโอเซลลูโลสที่ได้จากเปลือกสับปะรดภูแล โดยศึกษาผลของค่า pH (3, 5 และ 7) และระยะเวลาในการหมักเปลือกสับปะรด (5, 7 และ 9 วัน) ด้วยแบคทีเรีย Acetobactor xylenium นำแผ่นไบโอเซลลูโลสที่ได้มาวิเคราะห์สมบัติต่างๆ ได้แก่ ความหนา การส่องผ่านของแสง การทนทานต่อแรงดึง การอุ้มน้ำและการย่อยสลายทางชีวภาพ พบว่าสภาวะที่เหมาะสมต่อการหมักเปลือกสับปะรดภูแลเพื่อผลิตไบโอเซลลูโลส คือ pH 5 หมักนาน 7 วัน โดยแผ่นไบโอเซลลูโลสมีความหนาพอที่จะให้แสงส่องถึง ทนทานต่อแรงดึง อุ้มน้ำได้สูงและย่อยสลายได้ในระยะเวลา 60 วัน ซึ่งเพียงพอต่อการที่จะทำให้กล้ากล้วยไม้ยึดเกาะต้นไม้และเจริญเติบโตต่อไปได้ จากนั้นศึกษาผลของแผ่นไบโอเซลลูโลสต่อการเจริญเติบโตของกล้ากล้วยไม้ พบว่าการปลูกด้วยแผ่นไบโอเซลลูโลสที่พัฒนาขึ้นมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าชุดควบคุม (ปลูกโดยใช้กาบมะพร้าว) โดยทำให้มีรากและจำนวนใบเพิ่มขึ้น 1.5 และ 1.3 เท่า ตามลำดับ โครงงานนี้จะเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาวัสดุปลูกกล้ากล้วยไม้ชนิดใหม่เพื่อใช้ในการอนุรักษ์และเป็นแนวทางในการจัดการขยะทางการเกษตรที่ชุมชนได้อีกทางหนึ่ง